สนามกีฬา ของ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา

มุมมองสนามกัมนอว์ภายในสนาม

เริ่มแรกบาร์เซโลนาเล่นที่สนามกัมเดลาอินดุสเตรีย มีความจุราว 10,000 คนและสโมสรเห็นว่าสิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่ดีพอกับสมาชิกที่เพิ่มขึ้น[112]

ในปี ค.ศ. 1922 ผู้สนับสนุนสโมสรมีเพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 คน และสนับสนุนเงินให้กับสโมสร ทำให้บาร์ซาสามารถที่จะสร้างสนามที่ใหญ่กว่า โดยสร้างสนามกัมเดเลสกอตส์ ที่มีความจุ 20,000 คน หลังจากสงครามกลางเมืองสเปน สโมสรเริ่มมีสมาชิกมากขึ้นและมีผู้เข้าชมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการขยับขยายสนาม โดยขยายอัฒจันทร์ใหญ่ในปี ค.ศ. 1946 ขยายอัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้ในปี ค.ศ. 1946 และสุดท้ายขยายอัฒจันทร์ฝั่งทิศเหนือในปี ค.ศ. 1950 หลังการขยับขยายครั้งสุดท้าย สนามเลสกอตส์สามารถจุคนได้ 60,000 คน[113]

หลังจากต่อเติมเสร็จ สนามเลสกอตส์ก็ไม่สามารถขยับขยายห้องได้เพิ่มขึ้นอีก และจากความสำเร็จในการเป็นผู้ชนะเลิศในลาลิกาติดต่อกันในปี ค.ศ. 1948 และ 1949 รวมถึงได้เซ็นสัญญากับนักฟุตบอล ลัสโซล คูบาลา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1950 ที่ต่อมาเขายิงประตูให้กับสโมสร 196 ประตูใน 256 นัด ก็ยิ่งทำให้มีฝูงชนเข้ามาดูการแข่งขันมากขึ้น[113][114][115] สโมสรจึงเริ่มวางแผนการสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่[113] สนามกัมนอว์เริ่มก่อสร้างวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1954 วางศิลาฤกษ์ก้อนแรกโดยผู้ว่า เฟลีเป อาเซโด โกลังกา ที่ทำพิธีโดยอาร์ชบิชอปแห่งบาร์เซโลนา เกรโกเรียว โมเดรโก โดยใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1957 ด้วยค่าก่อสร้างทั้งหมด 288 ล้านเปเซตา เกินงบประมาณ 336%[113]

ส่วนหนึ่งของอัฒจันทร์ที่แสดงคำขวัญของบาร์เซโลนา "Més que un club" ที่หมายถึง 'มากกว่าสโมสร'

ในปี ค.ศ. 1980 มีการออกแบบสนามกีฬาใหม่ให้เข้ากับเกณฑ์พิจารณาของยูฟ่า สโมสรได้หาเงินจากผู้สนับสนุน โดยจะสลักชื่อบนหินด้วยจำนวนเงินเล็กน้อย แนวคิดนี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนับสนุน โดยมีคนหลายพันคนร่วมสนับสนุน แต่ต่อมากลายเป็นข้อพิพาทเมื่อสื่อในมาดริด ยกประเด็นนี้เมื่อมีหินก้อนหนึ่งที่สลักชื่อ ประธานของเรอัลมาดริด และผู้สนับสนุนจอมพลฟรังโก ชื่อ ซานเตียโก เบร์นาเบว เยสเต[116][117][118] ต่อมาในการเตรียมงานสำหรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 ได้มีการติดที่นั่ง 2 แถว เหนือแนวหลังคาเดิม[119] ปัจจุบันสนามจุคนได้ 99,354 คน เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป[120]

นอกจากนั้นยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น เช่น[121]

  • ซิวตัตเอสปอร์ตีบาฌูอันกัมเป (สนามฝึกซ้อมของสโมสร)
  • มาเซีย-เซนเตรเดฟอร์มาซีโอโอเรียลตอร์ต (ที่พักอาศัยของนักฟุตบอลเยาวชน)
  • มีนีเอสตาดี (ที่พักอาศัยของทีมสำรอง)
  • ปาเลาเบลากรานา (สนามฝึกซ้อมกีฬาในร่ม)
  • ปาเลาเบลากรานา 2 (สนามฝึกซ้อมในร่มแห่งที่ 2 ของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา)
  • ปิสตาเดเคล (ลานเล่นสเกตน้ำแข็งของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา)

ใกล้เคียง

สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี สโมสรฟุตบอลเชลซี สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา http://www.fcbarcelona.cat http://www.fcbarcelona.cat/web/castellano/noticies... http://www.fcbarcelona.cat/web/catala/noticies/clu... http://www.fcbarcelona.cat/web/english/club/club_a... http://www.fcbarcelona.cat/web/english/club/club_a... http://www.fcbarcelona.cat/web/english/club/histor... http://www.fcbarcelona.cat/web/english/futbol/temp... http://www.fcbarcelona.cat/web/english/noticies/fu... http://www.fcbarcelona.cat/web/english/noticies/fu... http://www.rcdespanyol.cat/principal.php?modulo=es...