การค้าและการใช้ประโยชน์ ของ หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น (Crocus sativus L.)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน1,298 kJ (310 kcal)
65.37 g
ใยอาหาร3.9 g
5.85 g
อิ่มตัว1.586 g
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว0.429 g
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่2.067 g
11.43 g
วิตามิน
วิตามินเอ530 IU
ไทอามีน (บี1)
(10%)
0.115 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(22%)
0.267 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(10%)
1.460 มก.
วิตามินซี
(97%)
80.8 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(11%)
111 มก.
เหล็ก
(85%)
11.10 มก.
แมกนีเซียม
(74%)
264 มก.
ฟอสฟอรัส
(36%)
252 มก.
โพแทสเซียม
(37%)
1724 มก.
โซเดียม
(10%)
148 มก.
สังกะสี
(11%)
1.09 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ11.90 g
ซีลีเนียม5.6 μg
โฟเลต[N 1]93 μg
วิตามินบี61.010 mg
เถ้า5.45 g

เฉพาะส่วนที่รับประทานได้เท่านั้น[41]
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA Nutrient Database

การค้า

"หญ้าฝรั่นสเปน (Ispanya saffron)" ที่ตลาดในประเทศตุรกี ส่วน "หญ้าฝรั่นอินเดีย (India saffron)" ความจริงคือขมิ้น

หญ้าฝรั่นเกือบจะทั้งหมดเพาะปลูกในบริเวณที่ล้อมรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในทางตะวันตก และพื้นที่ซึ่งโอบล้อมด้วยประเทศอิหร่านและแคชเมียร์ในทางตะวันออก ส่วนทวีปอื่น (ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา) มีผลผลิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในปีหนึ่ง ๆ มีผลผลิตหญ้าฝรั่นแห้งและผงประมาณ 300 ตัน[42] 50 ตัน เป็นหญ้าฝรั่นเกรดดีที่สุด "coupe"[43] ประเทศอิหร่านมีผลผลิตอยู่ราว 90-93% ของผลผลิตหญ้าฝรั่นทั่วโลกและเป็นประเทศที่ส่งออกมากที่สุด[44] สองสามจังหวัดที่แห้งแล้งทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของอิหร่าน ประกอบด้วย จังหวัดฟาร์ส, กริมาน และในภูมิภาคโคราซาน เป็นพื้นที่การเพาะปลูกที่มากที่สุดของผลผลิตในปัจจุบันทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2548 กรีซเป็นอันดับสองมีผลผลิต 5.7 ตัน ในขณะที่โมร็อกโกและแคชเมียร์เป็นอันดับที่สามโดยในแต่ละที่มีผลผลิต 2.3 ตัน[44]

ในปีที่ผ่านมา การเพาะปลูกในประเทศอัฟกานิสถานได้เพิ่มขึ้น ในแคชเมียร์กลับลดลง[45] อาเซอร์ไบจาน, โมร็อกโก และอิตาลีมีผู้ผลิตจำนวนน้อย มีผลผลิตลดหลั่นกันตามลำดับ

การใช้ประโยชน์

หญ้าฝรั่นถูกนำไปแช่ในน้ำร้อนแต่ถึงกับเดือดเป็นเวลาหลายนาทีก่อนที่จะใช้ในอาหาร วิธีนี้จะช่วยปลดปล่อยส่วนที่มีประโยชน์ออกมา

กลิ่นหอมของหญ้าฝรั่นได้รับการบรรยายโดยผู้เชียวชาญว่าทำให้นึกถึงน้ำผึ้งที่มีกลิ่นรสผิดปกติด้วยกลิ่นเหมือนหญ้าหรือฟางแห้ง ขณะที่มีรสชาติคล้ายฟางแห้งและหวาน หญ้าฝรั่นยังมีส่วนช่วยให้อาหารมีสีเหลืองส้มสว่าง มีการใช้หญ้าฝรั่นอย่างแพร่หลายในอาหารเปอร์เซีย, ยุโรป, อาหรับ และตุรกี มักมีการผสมหญ้าฝรั่นในลูกกวาดและสุราด้วย โดยทั่วไปแล้ว มีการนำคำฝอย (Carthamus tinctorius มีการขายในชื่อ "หญ้าฝรั่นโปรตุเกส (Portuguese saffron)" หรือ "açafrão"), ชาด และขมิ้น (Curcuma longa) มาใช้แทนหญ้าฝรั่น นอกจากนี้ยังมีการนำหญ้าฝรั่นมาใช้เป็นสีย้อมผ้าโดยเฉพาะในประเทศจีนและอินเดีย และนำมาใช้ในน้ำหอม[46] มันยังถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนาในประเทศอินเดีย และมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการปรุงอาหารในอาหารหลากหลายเชื้อชาติ เช่น รีซอตโต อาหารของเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี หรือ บุยยาเบส (bouillabaise) อาหารของประเทศฝรั่งเศส ไปจนถึงข้าวหมกที่รับประทานเคียงกับเนื้อหลายชนิดในเอเชียใต้

มีประวัติการใช้หญ้าฝรั่นในการแพทย์แผนโบราณมาอย่างยาวนาน การศึกษาวิจัยหลายชิ้นในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าเครื่องเทศชนิดนี้อาจมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง ต่อต้านสารก่อกลายพันธุ์ ฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกัน และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ[47][48][49] การศึกษาในปี พ.ศ. 2538 ชี้ให้เห็นว่ายอดเกสรเพศเมียและกลีบดอกของหญ้าฝรั่นมีประโยชน์ในการรักษาภาวะซึมเศร้า[50] การศึกษายังแสดงว่าหญ้าฝรั่นอาจช่วยป้องกันดวงตาจากผลกระทบโดยตรงจากแสงสว่างและความเครียดที่จอตานอกเหนือจากจุดรับภาพเสื่อม (macular degeneration) และโรคตาบอดกลางคืน (retinitis pigmentosa)[51] (หญ้าฝรั่นส่วนมากในงานวิจัยหมายถึงยอดเกสรเพศเมีย แต่มักจะไม่ระบุชัดเจนในงานวิจัย) งานศึกษาอื่น ๆ ระบุว่าหญ้าฝรั่นอาจมีศักยภาพในคุณสมบัติทางการแพทย์อีกหลายอย่าง[52]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หญ้าฝรั่น http://www.uni-graz.at/~katzer/engl/Croc_sat.html http://www.abc.net.au/landline/stories/s556192.htm http://www.abc.net.au/news/newsitems/200311/s98204... http://www.etymonline.com/index.php?search=saffron... http://www.foodwiki.com/init/default/food/FW_USDA0... http://books.google.com/?id=7IHcZ21dyjwC http://books.google.com/?id=AaTpWEIlgNwC http://books.google.com/?id=WsUaFT7l3QsC http://books.google.com/?id=iX05JaZXRz0C http://books.google.com/?id=l-QJaUp31T4C