ชีววิทยา ของ หญ้าฝรั่น

สัณฐานวิทยา
Crocus sativus, from Kohler's Medicinal Plants (1887)
 →  ยอดเกสรเพศเมีย
 →  เกสรเพศผู้
 →  วงกลีบดอก
 →  หัว

หญ้าฝรั่นที่ปลูกเลี้ยง (C. sativus) เป็นพืชดอกฤดูใบไม้ร่วงอายุหลายปีไม่พบในธรรมชาติ เป็นรูปแบบหนึ่งของพืชดอกฤดูใบไม้ร่วงทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Crocus cartwrightianus) ที่เป็นหมัน[8][9][10] ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเอเชียกลาง[3] หญ้าฝรั่นเป็นผลของ C. cartwrightianus เมื่อถูกการคัดเลือกพันธุ์โดยมนุษย์โดยเกษตรกรเพื่อให้ได้ยอดเกสรเพศเมียที่ยาวขึ้น จากการที่เป็นหมัน ชนิดดอกสีม่วงชนิดนี้จึงไม่สามารถสร้างผลที่สามารถเจริญต่อไปได้ การสืบพันธุ์จึงเกิดขึ้นจากการช่วยเหลือของมนุษย์ หัวใต้ดินที่มีรูปร่างคล้ายกับหัวหอม เป็นอวัยวะที่สะสมกักตุนแป้ง จะถูกขุดขึ้นจากดิน แยกออกจากกัน และนำไปเพาะปลูกอีกครั้ง หัวหญ้าฝรั่นที่มีชีวิตอยู่มาหนึ่งฤดูจะสร้างและแบ่งออกได้มาถึง 10 หัวย่อยที่สามารถนำไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้[8] หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาลมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 4.5 ซม. และห่อด้วยเส้นใยขนานกันหนา

หลังการเรียงกลีบในฤดูใบไม้ผลิ ต้นไม้จะแทงใบสีเขียวแคบขึ้นมาในแนวเกือบตั้งฉาก 5-11 ใบ แต่ละใบยาวถึง 40 ซม. ในฤดูใบไม้ร่วงจะเริ่มแทงตาสีม่วงขึ้นมา ในเดือนตุลาคม หลังไม้ดอกชนิดอื่นส่วนมากออกเมล็ดแล้ว พืชจะออกดอกเป็นกระจุกสีม่วงอ่อนเหมือนแรเงาด้วยดินสอสีถึงม่วงเข้มที่มีริ้วสีม่วงซีด[11] ลักษณะดอกมีรูปร่างคล้ายดอกบัว กลีบดอกเรียวยาวคล้ายรูปไข่ เมื่อมีดอก หญ้าฝรั่นมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 ซม.[12] มียอดเกสรเพศเมียสีแดงสดยื่นออกมายาวโผล่พ้นเหนือดอกมีลักษณะเป็นง่ามสามง่าม ยาว 25-30 มม.[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หญ้าฝรั่น http://www.uni-graz.at/~katzer/engl/Croc_sat.html http://www.abc.net.au/landline/stories/s556192.htm http://www.abc.net.au/news/newsitems/200311/s98204... http://www.etymonline.com/index.php?search=saffron... http://www.foodwiki.com/init/default/food/FW_USDA0... http://books.google.com/?id=7IHcZ21dyjwC http://books.google.com/?id=AaTpWEIlgNwC http://books.google.com/?id=WsUaFT7l3QsC http://books.google.com/?id=iX05JaZXRz0C http://books.google.com/?id=l-QJaUp31T4C