หนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้
หนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้

หนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้

หนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้ (อังกฤษ: Machine-readable passport) เป็นหนังสือเดินทางที่มีการพิมพ์แถบข้อมูลสรุปเกี่ยวกับตัวผู้ถือ เลขที่เอกสาร วันที่หมดอายุ สัญชาติ วันเกิด และรายละเอียดอื่นตามที่รัฐผู้ออกจะกำหนดไว้ มาตรฐานของหนังสือเดินทาง วิธีการพิมพ์ คุณสมบัติความปลอดภัยภาคบังคับ ตลอดจนข้อบังคับอื่นระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 9303 ขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตอนที่ 3 และ 4[1] รวมถึงมาตรฐาน ISO/IEC 7501-1:2008[2] ทั้งนี้ เพื่อให้การนำเข้าข้่อมูลเกี่ยวกับผู้เดินทางทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ตรวจสอบบุคคลห้ามเข้าเมืองและบุคคลผู้มีหมายจับหรือหมายเรียกได้สะดวก การอ่านแถบข้อมูลกระทำได้ด้วยตาเปล่าหรือจะใช้เครื่องอ่านได้ทั้งสองวิธี ในประเทศไทย หนังสือเดินทางชนิดนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2536[3] โดยให้โรงพิมพ์จันวาณิชย์เป็นผู้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน[4][5] โดยก่อนปี พ.ศ. 2545 หนังสือเดินทางยังเป็นแบบธรรมดาแต่มีแถบสรุปข้อมูลสำหรับอ่านด้วยตาและเครื่อง แต่หลังจากนั้นมีการฝังชิปบันทึกข้อมูลลายนิ้วมือและข้อมูลพื้นฐานไว้ท้ายเล่มนอกเหนือจากหนังสือเดินทางแล้ว มาตรฐานนี้ยังใช้ได้กับเอกสารเดินทางอย่างอื่น อาทิ ตรวจลงตรา (หรือใบอนุญาตเข้าเมือง) ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (หรือใบอนุญาตให้พำนัก) บัตรเดินทาง ตามที่รัฐผู้ออกเห็นสมควรและทำเป็นระเบียบไว้ ข้อเสียของหนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้คือ ไม่สามารถบรรจุข้อมูลได้มากเท่าบาร์โค้ดชนิดพิเศษ เช่น คิวอาร์โค้ด PDF417 ชื่อบุคคลที่ยาวเกินกำหนดจะต้องถูกตัด ย่อ หรือแสดงเฉพาะชื่อตัว เลขประจำตัวประชาชนที่ยาวเกินสัดส่วน (เช่น เลขประจำตัวประชาชนจีน ซึ่งมี 18 หลัก) มักจะไม่แสดงในแถบนี้

ใกล้เคียง

หนังสือเดินทางไทย หนังสือปฐมกาล หนังสืออิสยาห์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ หนังสืออพยพ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือกันดารวิถี หนังสือเลวีนิติ หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ หนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้