หลวงสวัสดิภักดี_(ยิ้มซ้าย)

หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) หรือนายเสมใส บุตรชายของพระยาตานี(ขวัญซ้าย)ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองยะหริ่งคนที่2 ในตำแหน่งรักษาราชการเมืองยะหริ่ง[1]ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดเหตุการณ์ต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯ เพราะหัวเมืองมลายูปัตตานีได้ถูกเกณฑ์ไปร่วมทำสงครามกับเมืองไทรบุรี ซึ่งถือว่าเป็นหัวเมืองมลายูที่เป็นเครือญาติกับหัวเมืองมลายูปัตตานีด้วยกันทั้งสิ้น เจ้าเมืองมลายูต่างๆ จึงไม่ยินยอมที่จะร่วมทำสงครามด้วยกับกองทัพสยาม พระยาเมืองจึงร่วมกันคิดก่อกบฎโดยมี พระยาตานี (ต่วนสุหลง) ผู้พี่ พระยาหนองจิก (ต่วนกะจิ) ผู้น้อง พระยายะลา (ต่วนบางกอก) และพระยาระแงะ (นิเดะ) โดยตีบ้านพระยายะหริ่ง (พ่าย) จากนั้นเข้าตีเมืองจะนะ ต่อด้วยเมืองเทพา เมื่อพระยาสงขลาทราบเรื่องจึงได้ส่งสารฉบับหนึ่งเพื่อกราบบังคมทูลไปยังพระเจ้าแผ่นดินที่กรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงส่งพระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพไปสมทบช่วยเมืองสงขลาตีเมืองจะนะ เมืองเทพา ตลอดจนถึงเมืองระแงะได้สำเร็จ และจับพระยาตานี(ต่วนสุหลง)ผู้พี่ พระยาหนองจิก(ต่วนกะจิ)ผู้น้อง พระยายะลา(ต่วนบางกอก) ได้ที่ตำบลบ้านโต๊ะเดะ ในเขตแขวงเมืองระแงะ ส่วนพระยาระแงะ (นิกะจิ) หนีไปได้ ในระหว่างนั้นพระยาสงขลาได้แต่งตั้งหลวงสวัสดิ์ภักดี (ยิ้มซ้าย) ไปรักษาราชการเมืองยะลา[2] ต่อมาได้ย้ายไปเป็นเจ้าเมืองยะหริ่งในตำแหน่งรักษาราชการเมืองยะหริ่งแทนพระยายะหริ่ง (พ่าย)ผู้เป็นอาที่ถึงแก่อนิจกรรม

หลวงสวัสดิภักดี_(ยิ้มซ้าย)

ตำแหน่ง รักษาราชการเมือง
บิดามารดา
  • พระยาตานี (ขวัญซ้าย) (บิดา)
สัญชาติ สยาม

ใกล้เคียง

หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที) หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) หลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม) หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์) หลวงสุรณรงค์ (ธงไชย โชติกเสถียร) หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) หลวงสวัสดิสรยุทธ (ดล บุนนาค) หลวงสมานวนกิจ (เจริญ สมานวนกิจ)