หลักการสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟ

หลักการสอดคล้องโดยตัวเองของนาวิคอฟ (Novikov self-consistency principle) หรือที่เรียกว่าเป็น หลักการคาดคะเนความสอดคล้องโดยตัวเองของนาวิคอฟ (Novikov self-consistency conjecture) เป็นหลักการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวรัสเซียชื่อ อิกอร์ ดมิทรีอาวิช นาฟวิคอฟ (Igor Dmitriyevich Novikov) ในกลางปี ​​1980 เพื่อที่จะแก้ปัญหาของพาราดอกซ์ หรือความขัดแย้งในเรื่องของการเดินทางข้ามเวลา, ซึ่งได้รับอนุญาตในทางทฤษฎีในการแก้ปัญหาบางอย่างของสัมพัทธภาพทั่วไป (การแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสิ่งที่เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น เส้นโค้งปิดของเวลาเสมือน (closed timelike curve)) หลักการที่อ้างว่าหากมีเหตุการณ์ใด ๆ ก็ตามเกิดขึ้นที่จะก่อให้เกิดปฏิทรรศน์ หรือ พาราดอกซ์ หรือ ความขัดแย้ง หรือเกิด "การเปลี่ยนแปลง" อย่างหนึ่งอย่างใดต่อเหตุการณ์อันเป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีต, ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์นั้นที่น่าจะสามารถเกิดขึ้นได้จะมีค่าเป็นศูนย์ มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างความขัดแย้ง หรือ ปฏิทรรศน์ของเวลา (time paradoxe) ให้เกิดขึ้นได้

ใกล้เคียง

หลักการใช้กำลัง หลักการอิสลาม หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์ หลักการของอาร์คิมิดีส หลักการสิบสี่ข้อ หลักกิโลเมตร หลักการสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟ หลักการของเฮยเคินส์ หลักการศรัทธา หลักการกีดกันของเพาลี