ข้อวิจารณ์ ของ หลักระวังไว้ก่อน

ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์หลักนี้ใช้ข้ออ้างแบบเดียวกับที่ใช้ต่อต้านแนวคิดอนุรักษนิยมทางเทคโนโลยีในรูปแบบอื่น ๆ

ความไม่สอดคล้อง - การใช้หลักนี้แบบแข็งอาจมีโทษ

หลักนี้ในรูปแบบแข็ง ถ้าไม่ใส่ใจเงื่อนไขพื้นฐานว่าควรใช้หลักเมื่อความเสี่ยงมีโอกาสสูงและคำนวณได้ไม่ง่ายเท่านั้น แล้วประยุกต์ใช้ต่อตัวหลักเองเพื่อตัดสินใจว่าควรใช้หลักเป็นนโยบายหรือไม่ อาจจะห้ามไม่ให้ใช้หลักนี้เอง[14]:26ffสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้จริง ๆ ก็คือ การห้ามไม่ให้ใช้นวัตกรรมหมายความว่าให้ใช้แต่เทคโนโลยีที่มีอยู่ และเทคโนโลยีที่มีอยู่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่มีประโยชน์พอเพียง ดังนั้น จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะก่ออันตรายโดยห้ามไม่ให้ใช้นวัตกรรม[28][29]ดังที่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดังคนหนึ่งเขียนไว้ในบทประพันธ์ของเขาว่า "หลักระวังไว้ก่อน ถ้าประยุกต์ใช้อย่างถูกต้อง ก็จะห้ามใช้หลักระวังไว้ก่อนเอง"[30]ยกตัวอย่างเช่น การห้ามใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะว่าโอกาสเสี่ยง ก็จะหมายความว่าให้ใช้โรงงานไฟฟ้าที่เผาเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ต่อไป ซึ่งก็จะปล่อยแก๊สเรือนกระจกเข้าสู่สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ[14]:27อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือกฎหมายห้ามปล่อยสารเคมีบางอย่างสู่อากาศในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2533 เป็นการใช้หลักระวังไว้ก่อนที่ผู้ปล่อยจะต้องพิสูจน์ว่าสารเคมีที่อยู่ในรายชื่อนั้นไม่มีโทษแต่เนื่องจากว่า ไม่มีการแยกแยะว่าสารเคมีในรายการอันไหนมีโอกาสเสี่ยงสูงหรือโอกาสเสี่ยงต่ำดังนั้น ผู้ปล่อยสารเคมีก็เลยเลือกปล่อยสารเคมีที่ไม่ค่อยมีข้อมูลแต่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อ[31]

การห้ามนวัตกรรมและความก้าวหน้าโดยทั่วไป

หลักนี้แบบแข็งอาจใช้ห้ามนวัตกรรมที่เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์เพราะโอกาสมีผลลบ ทำให้ไม่ได้ประโยชน์ที่ควรจะได้[32][33]:201ดังนั้น หลักนี้จึงสร้างประเด็นเชิงจริยธรรมว่า การใช้หลักอาจระงับความก้าวหน้าในประเทศกำลังพัฒนาได้[34]

ความคลุมเครือและความเป็นไปได้

หลักนี้เรียกร้องให้ไม่ทำการเมื่อมีความไม่ชัดเจนทางวิทยาศาสตร์ แต่รูปแบบที่ใช้บางอย่างไม่กำหนดขีดตายที่โอกาสความเสี่ยงจะลั่นไกการใช้หลักนี้ ดังนั้น เครื่องชี้ทุกอย่างว่าผลิตภัณฑ์หนึ่งอาจมีผลลบต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม ก็เป็นเรื่องเพียงพอที่จะใช้หลักนี้[35][36]ในปี 2551 ในสหรัฐอเมริกา ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องคดีเกี่ยวกับเรื่องกังวลยอดนิยม ว่าเครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่จะทำลายโลกด้วยหลุมดำ โดยกล่าวว่า[37]

ความเสียหายจะต้องมี "ภัยหรืออันตรายที่น่าเชื่อถือ" [Cent. Delta Water Agency v. United States, 306 F.3d 938, 950 (9th Cir. 2002)] อย่างมากที่สุด แว็กเนอร์ (ผู้ฟ้อง) ก็เพียงอ้างว่า การทดลองทำที่เครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่ (หรือว่า "เครื่องชน") มี "ผลที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเป็นไปได้" (แต่ว่า) ความกลัวแบบลม ๆ แล้ง ๆ เกี่ยวกับภัยในอนาคตไม่ใช่เป็นความเสียหายจริง ๆ เพียงพอที่จะได้จุดยืนจากศาล (Mayfield, 599 F.3d at 970)[38]

ใกล้เคียง

หลักระวังไว้ก่อน หลักรังนกพิราบ หลักสูตร หลักการใช้กำลัง หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในในประเทศไทย หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน หลักฐานโดยเรื่องเล่า หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา หลักการอิสลาม หลักฐานเชิงประสบการณ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: หลักระวังไว้ก่อน http://law.anu.edu.au/StaffUploads/236-Nanoethics%... http://goliath.ecnext.com/coms2/gi_0199-2593495/Th... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0160-... http://books.google.com/books/about/Lies_Damned_Li... http://books.google.com/books/about/The_Beginning_... http://books.google.com/books?id=e4vjoqgeaIMC&pg http://www.maxmore.com/perils.htm http://www.municode.com/Resources/gateway.asp?pid=... http://networkedblogs.com/7erBW http://www.nickbostrom.com/ethics/ai.html