ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการเกิด ของ หินอัคนี

หินอัคนีแทรกซอน

Close-up of granite (an intrusive igneous rock) exposed in Chennai, India.

หินอัคนีแทรกซอนเกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืดภายใต้เปลือกโลกซึ่งถูกล้อมรอบด้วยหินต้นกำเนิด หินหนืดมีการเย็นตัวอย่างช้าๆทำให้เกิดเนื้อผลึกที่มีขนาดใหญ่และเนื้อหินหยาบ แร่องค์ประกอบในหินสามารถแยกได้ด้วยตาเปล่าและสามารถกินได้

หินอัคนีพุ

หินอัคนีพุเกิดการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืดบนผิวโลก หินหนืดมีการเย็นตัวอย่างรวดเร็วทำให้เกิดเนื้อผลึกที่มีขนาดเล็กและเนื้อหินละเอียด หินหลอมละลายที่มีหรือไม่มีผลึกและฟองอากาศเรียกว่าหินหนืด (magma) หินหนืดโผล่ขึ้นมาที่ผิวโลกเนื่องจากมีความหนาแน่นน้อยกว่าหินต้นกำเนิด หินหนืดที่โผล่ขึ้นมาไม่ว่าจะอยู่ใต้น้ำหรือบนบก เรียกว่า หินหลอมเหลว (lava)

ปริมาณหินอัคนีพุที่ประทุจากการระเบิดของภูเขาไฟในแต่ละปีขึ้นอยู่กับการเกิดธรณีแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลก

หินหนืดที่เกิดจากปะทุของภูเขาไฟมีลักษณะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและองค์ประกอบ หินหนืดที่มีอุณหภูมิสูงมีส่วนประกอบบะซอลต์ซึ่งมีลักษณะคล้ายดินน้ำมันที่เย็นตัว หินหนืดที่มีองค์ประกอบปานกลางเช่นแอนดีไซต์มีแนวโน้มที่เกิดจากการผสมกันของกรวยกรวดภูเขาไฟ (เถ้าธุลีภูเขาไฟ, หินเถ้าภูเขาไฟ) หินหนืดที่มีสีอ่อนเช่นหินไรโอไลต์มักจะเกิดจากการปะทุที่อุณหภูมิต่ำ

หินหนืดสีอ่อนและสีปานกลางมักจะมีการปะทุที่รุนแรงซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ การระเบิดของตะกอนภูเขาไฟรวมทั้งหินเถ้าภูเขาไฟและหินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟเรียกว่า เทบพรา (tephra) เถ้าธุลีตะกอนภูเขาไฟขนาดเล็กจะเกิดการระเบิดและแผ่ตัวตกสะสมในบริเวณกว้าง

เนื่องจากว่าหินหลอมเหลวเย็นตัวและตกผลึกอย่างรวดเร็วจึงได้ผลึกที่มีขนาดเล็ก ถ้าผลึกถูกรบกวนขณะเย็นตัวลักษณะที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อแก้วเช่นหินออบซิเดียน ถ้าหินหลอมเหลวมีการเย็นตัวอย่างช้าๆผลึกที่ได้จะมีขนาดใหญ่

เนื่องจากแร่ส่วนใหญ่ของหินอัคนีพุมีขนาดเล็กจึงจำแนกประเภทได้ยากกว่าหินอัคนีแทรกซอน โดยทั่วไปแร่องค์ประกอบของหินอัคนีพุสามารถจำแนกภายใต้กล้องจุลทรรศน์(Microscope) โดยอาจใช้ LM ได้

หินอัคนีระดับตื้น

หินอัคนีระดับตื้นเกิดที่ความลึกระหว่างหินอัคนีพุและหินอัคนีแทรกซอน หินอัคนีระดับตื้นพบในปริมาณมากมักพบบริเวณพนังหิน (dike), พนักแทรกชั้น (sills) หรือหินอัคนีรูปเห็ด (laccoliths)