หูชั้นในรูปหอยโข่ง
หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง[1]หรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง[1]หรือ คอเคลีย(อังกฤษ: cochlea, /ˈkɒk.liə/, จาก กรีกโบราณ: κοχλίας , kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นในเป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus[2][3]และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.[4]โครงสร้างหลักของคอเคลียก็คืออวัยวะของคอร์ติ ซึ่งเป็นอวัยวะรับประสาทสัมผัสคือการได้ยินเสียง และอยู่กระจายไปตามผนังที่กั้นโพรงสองโพรงที่เต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งวิ่งไปตามก้นหอยที่ค่อย ๆ แคบลงส่วนคำว่าคอเคลียมาจากคำในภาษาละตินซึ่งแปลได้ว่า "เปลือกหอยทาก" และก็มาจากคำภาษากรีกว่า κοχλίας, kokhlias ซึ่งแปลว่า หอยทาก หรือเกลียว ซึ่งมาจากคำว่า κόχλος, kokhlos ซึ่งแปลว่า เปลือกวนเป็นก้นหอย[5]คอเคลียในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดยกเว้นของโมโนทรีมมีรูปร่างเช่นนี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: หูชั้นในรูปหอยโข่ง http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.etymonline.com/index.php?search=cochlea... http://vts.uni-ulm.de/docs/2009/6797/vts_6797_9398... http://web.mit.edu/newsoffice/2009/bio-electronics... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1609193 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2299218 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10751665 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15064611 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16773501