ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น
ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น

ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น

ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น หรือ เจพีแอล (อังกฤษ: Jet Propulsion Laboratory, JPL) เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาจากทุนของรัฐบาลกลางสหรัฐ และทุนจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซา ตั้งอยู่ในเมืองลาแคนาดา ฟลินทริดจ์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[1] ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่มักถูกเข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองแพซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย เนื่องจากใช้รหัสไปรษณีย์เดียวกันเจพีแอลถือกำเนิดขึ้นในปี 1930 ปัจจุบันอยู่ในการกำกับดูแลขององค์การนาซา และดำเนินงานโดยสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือ แคลเทค (Caltech)[2] หน้าที่หลักคือการสร้างและดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจยานอวกาศไร้คนขับทั้งหมด นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการดำเนินงานทั้งหมดของเครือข่ายอวกาศห้วงลึก (Deep Space Network, DSN) ซึ่งเป็นอีกหน่วยงานขององค์การนาซา โครงการที่สำคัญของศูนย์วิจัยเจพีแอลได้แก่ ยานสำรวจมาร์สซายน์เอนซ์แลบบอราทอรี (Mars Science Laboratory) ซึ่งรวมถึงรถโรเวอร์คิวริออซิตี (Curiosity), ยานสำรวจมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ (Mars Reconnaissance Orbiter), ยานสำรวจจูโน (Juno) ที่โคจรรอบดาวพฤหัสบดี, กล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์นิวสตาร์ (NuSTAR), ดาวเทียมสแมพ (SMAP) สำหรับตรวจสอบความชื้นของดินบนพื้นโลก, และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer) นอกจากนี้เจพีแอลยังดูแลฐานข้อมูลเทห์วัตถุขนาดเล็ก (Small-Body Database, SBDB) รวมถึงการรวบรวมและเผยแพร่รายชื่อและข้อมูลทางกายภาพของเทห์วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar-System Bodies, SSSB) ที่รู้จักทั้งหมดอีกด้วย ห้องควบคุมการบินอวกาศของเจพีแอล (Space Flight Operations Facility) และห้องจำลองสภาพอวกาศขนาด 25 ฟุต (Twenty-Five-Foot Space Simulator) ถูกประกาศให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติเจพีแอลก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดของนายธีโอดอร์ ฟอน คาร์มาน (Theodore von Kármán) ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศผู้มีชื่อเสียงของสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียในขณะนั้น วัตถุประสงค์เพื่อทำการค้นคว้าวิจัยด้านแรงขับเคลื่อนของจรวด โดยก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางกองทัพอากาศสหรัฐได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ในการพัฒนาการวิ่งขึ้นโดยใช้ไอพ่น หรือ จาโตะ (Jet-Assisted Take-Off, JATO) เพื่อช่วยให้เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถบินขึ้นบนทางวิ่งที่สั้นลง หลังสิ้นสุดสงครามทางศูนย์วิจัยได้เปลี่ยนบทบาทมาเน้นการออกแบบจรวดและขีปนาวุธในนามของกองทัพสหรัฐ หลังจากนั้น ในช่วงต้นยุคของการสำรวจอวกาศ เจพีแอลได้มีส่วนรวมในภาคกิจการส่งดาวเทียมของสหรัฐ ทั้งการออกแบบระบบติดตาม ชิ้นส่วนของจรวดนำส่ง รวมไปถึงดาวเทียม (เอ็กซ์พลอเรอร์ 1) ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้มีการผนวกศูนย์วิจัยแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนาซาในปี 1958 ซึ่งขณะนั้นยังเป็นหน่วยงานด้านอวกาศของพลเรือนที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ นับถึงวันนี้ ศูนย์วิจัยเจพีแอลได้มีส่วนช่วยให้เกิดโครงการสำรวจอวกาศในระบบสุริยะที่สำคัญของมนุษยชาติ ได้แก่ โครงการเซอร์เวเยอร์ (Surveyor), โครงการมาริเนอร์ (Mariner), โครงการวอยเอจเจอร์ (Voyager), โครงการไวกิ้ง (Viking), ยานอวกาศกาลิเลโอ (Galileo), และยานสำรวจกัสซีนี–เฮยเคินส์ (Cassini–Huygens) เป็นต้น

ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น

ต้นสังกัด องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ
(บริหาร)
สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย
(ดำเนินงาน)
เว็บไซต์ jpl.nasa.gov
ประเภท ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศ
หน่วยงานย่อย กองวิทยาศาสตร์เจพีแอล
(JPL Science Division)
พนักงาน > 6000 คน
กำกับดูแล รัฐบาลกลางสหรัฐ
ที่ตั้ง 4800 โอ๊กโกรฟไดรฟ์, ลาแคนาดา ฟลินทริดจ์, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
34°12′6.1″N 118°10′18″W / 34.201694°N 118.17167°W / 34.201694; -118.17167พิกัดภูมิศาสตร์: 34°12′6.1″N 118°10′18″W / 34.201694°N 118.17167°W / 34.201694; -118.17167
ก่อตั้ง 31 ตุลาคม 1936; 83 ปีก่อน (1936-10-31)
ผู้บริหาร ไมเคิล เอ็ม วัตกินส์ (ผู้อำนวยการ)

ใกล้เคียง

ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) ห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ห้องต้องประสงค์ ห้องรับประทานอาหาร ห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์ ห้องเรียนจารชน ห้องราฟาเอล ห้องอำพัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น http://www.astronautix.com/c/corporal.html http://www.astronautix.com/s/sergeant.html http://www.astronautix.com/w/wac.html http://www.latimes.com/nation/la-me-qian-xuesen1-2... http://www.nas.edu/history/igy/ http://www.centerforsacramentohistory.org/-/media/... //doi.org/10.1063%2F1.2761801 //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://www.space.com/16952-nasa-jet-propulsion-la... https://appel.nasa.gov/wp-content/uploads/2013/05/...