กายวิภาคศาสตร์ ของ องคชาตของมนุษย์

ภาพตัดขวางแสดงส่วนต่าง ๆ ขององคชาต

ส่วนต่าง ๆ

  • รากขององคชาต (Radix): เป็นส่วนที่ยึด ประกอบด้วยกระเปาะองคชาตในส่วนตรงกลาง และขาขององคชาตซึ่งอยู่คนละด้านกับกระเปาะ อยู่ภายในบริเวณตื้น ๆ ใต้ฝีเย็บ
  • ส่วนตัวขององคชาต (Corpus): มีสองพื้นผิว คือ ส่วนบน (โพสเตอร์โรซูพีเรียร์ในส่วนยุบพองขององคชาต) และส่วนท้องหรือส่วนท่อปัสสาวะ (คว่ำลงและอยู่แนวหลังในภาวะองคชาตอ่อนตัว) พื้นผิวส่วนท้องจะทำให้เกิดร่องในแนวด้านข้าง
  • เนื้อเยื่อบุผิวขององคชาต ประกอบด้วย หนังบริเวณก้าน หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย และเยื่อบุพรีพิวเทียลซึ่งอยู่ภายในหนังหุ้มปลายและปกคลุมส่วนหัวขององคชาต เนื้อเยื่อบุผิวนี้มิได้ยึดติดกับตัวก้าน จึงเป็นอิสระในการเคลื่อนไปมา[3]

โครงสร้าง

องคชาตของมนุษย์เกิดจากเนื้อเยื่อสามต้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อคอร์ปัส คาเวอร์โนซัม (Corpus cavernosum) สองมัดที่ด้านบน และกล้ามเนื้อคอร์ปัส สปอนจิโอซัม (Corpus spongiosum) ซึ่งอยู่ระหว่างกลางของกล้ามเนื้อส่วนแรก

การขยายตัวและก้านกระเปาะส่วนท้ายของคอร์ปัส สปอนจิโอซัมรูปแบบส่วนหัวขององคชาต ซึ่งรองรับหนังหุ้มปลาย ซึ่งหากผิวหนังมีการพับอย่างหลวม ในวัยผู้ใหญ่จะสามารถเปิดออกเพื่อแสดงให้เห็นส่วนหัวขององคชาตได้ พื้นที่ที่อยู่ด้านใต้องคชาตเป็นส่วนที่หนังหุ้มปลายองคชาตถูกยึดติดไว้ในบริเวณที่เรียกว่า เส้นสองสลึง ส่วนฐานลักษณะโค้งมนของหัวองคชาตจะเรียกว่า โคโรนา ส่วน perineal raphe แสดงให้เห็นได้เป็นเส้น ด้านล่างขององคชาต

แผนภาพกายวิภาคขององคชาตมนุษย์

ท่อปัสสาวะ เป็นส่วนสุดท้ายของระบบขับถ่ายปัสสาวะ ซึ่งเคลื่อนผ่านคอร์ปัส สปอนจิโอซัม และเปิดออกบริเวณส่วนที่เรียกว่า ช่องปัสสาวะ บริเวณปลายสุดของหัวองคชาต ซึ่งเป็นทางผ่านของทั้งปัสสาวะและการหลั่งของน้ำอสุจิ ตัวอสุจิถูกสร้างขึ้นในอัณฑะ และเก็บไว้ภายในถุงเก็บตัวอสุจิ (Epididymis) ในระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ ตัวอสุจิจะถูกส่งขึ้นไปยังหลอดนำอสุจิ (Vas deferens) สองหลอดผ่านทางด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะ ของเหลวจะถูกเพิ่มลงไปในท่อฉีดอสุจิ (Ejaculation ducts) ซึ่งจะเชื่อมกับท่อปัสสาวะภายในต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากและต่อมคาวเปอร์จะเติมสารคัดหลั่ง และน้ำอสุจิจะถูกขับออกมาทางองคชาต

Perineal raphe คือส่วนที่มองเห็นเป็นแนวระหว่างร่องทั้งสองข้างขององคชาต ซึ่งพบบริเวณด้านล่างส่วนท้องขององคชาต จากช่องปัสสาวะ (ส่วนเปิดของท่อปัสสาวะ) ผ่านถุงอัณฑะไปถึง Perineum (พื้นที่ระหว่างถุงอัณฑะและทวารหนัก)

องคชาตของมนุษย์ต่างจากองคชาตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ตรงที่ไม่มี Baculum หรือกระดูกอวัยวะเพศ และจะแทนที่การกักเลือดให้คั่งอยู่ในภาวะแข็งตัว และไม่สามารถหดกลับลงไปในบริเวณขาหนีบ และมันมีขนาดใหญ่กว่าโดยเฉลี่ยในอาณาจักรสัตว์ตามสัดส่วนน้ำหนักตัวของมนุษย์

ขนาด

ดูบทความหลักที่: ขนาดองคชาตมนุษย์

ขณะที่ผลจากการศึกษาที่แตกต่างกัน ความคิดเห็นส่วนใหญ่ระบุว่าขนาดขณะแข็งตัวขององคชาติโดยความยาวอยู่ที่ประมาณ 12.9–15 ซม. (5.1–5.9 นิ้ว) โดย 95% ของผู้ใหญ่เพศชาย ซึ่งอยู่ในช่วง 10.7–19.1 ซม. (4.2–7.5 นิ้ว) ซึ่งทั้งอายุและขนาดขณะภาวะอ่อนตัวขององคชาตสามารถคาดการณ์ความยาวของอวัยวะเพศได้อย่างแม่นยำ ความยาวของ Stretched มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความยาวขณะแข็งตัว[4][5][6] ขนาดองคชาตโดยเฉลี่ยใหญ่กว่าขนาดมัธยฐานเล็กน้อย (นั่นคือ องคชาตส่วนใหญ่ต่ำกว่าขนาดเฉลี่ย)

ความยาวขณะองคชาตอ่อนตัว ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความยาวขององคชาตขณะแข็งตัว นั่นคือ บางองคชาตอาจเล็กมากในขณะอ่อนตัว อาจยาวขึ้นมากในขณะแข็งตัว ขณะที่บางองคชาตอาจใหญ่มากขณะอ่อนตัว แต่อาจขยายตัวได้น้อยกว่าเมื่อแข็งตัว[7] ท่ามกลางบรรดาอันดับวานร องคชาตของมนุษย์นั่นใหญ่ที่สุดโดยการวัด แต่เทียบกับชิมแปนซีและสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ในความยาว[8]

โครงการศึกษาค้นคว้า ได้สรุปกรณีศึกษาที่ดีตามการแพทย์ของความแตกต่างทางเชื้อชาติ 12 ชิ้น แสดงให้เห็นว่าโดยรอบโลก ขนาดโดยเฉลี่ยของขนาดองคชาตอยู่ที่ระหว่าง 9.6 และ 16 ซม. (3.8 และ 6.3 นิ้ว) ซึ่งมีการแนะนำว่าความแตกต่างนี้เกิดขึ้นไม่เพียงจากทางพันธุกรรม แต่ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ความสมบูรณ์ของยา[9] วัฒนธรรม การคุมอาหาร และการสัมผัสกับเคมีภัณฑ์และมลพิษ[10][11][12] Endocrine disruption เป็นผลมาจากการสัมผัสเคมีภัณฑ์ซึ่งมีผลเชื่อมโยงกับการผิดรูปของอวัยวะสืบพันธุ์ในทั้งสองเพศ (ในจำนวนปัญหาอื่น ๆ มากมาย)

เอกสารทางการระบุว่าองคชาตมนุษย์ที่ยาวที่สุดถูกพบโดยนายแพทย์โรเบิร์ต แลทู ดิกคินสัน โดยมีความยาว 34.3 ซม. (13.5 นิ้ว) และมีเส้นรอบวง 15.9 ซม. (6.26 นิ้ว)

รูปแบบปกติ

ภาวะ Pearly penile papules เป็นลักษณะกายวิภาคโดยทั่วไป อาจจะเป็นร่องรอยที่เหลือของหนามองคชาต
  • Pearly penile papules เป็นการเกิดติ่งเนื้อเล็ก ๆ ขึ้นรอบฐาน (ร่อง) ของหัวองคชาตโดยปกติจะพัฒนาขึ้นในผู้ชายอายุ 20 ถึง 40 ปี ในปี ค.ศ. 1999 การศึกษาพบว่าภาวะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นในผู้ชายทุกคน 8 ถึง 48 เปอร์เซ็นต์[13] บางครั้งอาจเข้าในผิดว่าเป็นหูด แต่ไม่มีอันตรายหรือติดเชื้อและไม่จำเป็นต้องรักษา[14]
  • จุดฟอร์ไดร์ซ เป็นจุดเล็ก ๆ นูนกว่าบริเวณโดยรอบ มีสีขาวเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1–2 มม. บางครั้งอาจปรากฏบนองคชาต ซึ่งเป็นเรื่องปกติและไม่มีการติดเชื้อ
  • Sebaceous prominences เป็นจุดที่นูนขึ้นกว่าบริเวณโดยรอบคล้ายกับจุดฟอร์ไดร์ซบนก้านองคชาต เป็นที่ตั้งของต่อมไขมันและเป็นเรื่องปกติ
  • หนังหุ้มปลายองคชาตตีบ (Phimosis) เป็นอาการที่ไม่สามารถดึงหนังหุ้มปลายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติและไม่เป็นอันตรายในวัยเด็กถึงวัยเด็กโต เกิดขึ้นประมาณ 8% ของเด็กผู้ชายอายุ 10 ปี ตามที่สมาคมแพทย์อังกฤษ ระบุว่าการรักษา (ด้วยครีมสเตียรอยด์เฉพาะที่ และ/หรือ การยืดด้วยมือ) จะไม่ถูกใช้จนกว่าจะอายุ 19 ปี
  • การโค้ง: องคชาตจะไม่ตรงอย่างสมบูรณ์ ด้วยความโค้งที่พบได้บ่อยในทุกทิศทาง (ขึ้น, ลง, ซ้าย หรือ ขวา) บางครั้งที่ความโค้งอาจโดดเด่นมาก แต่ไม่ได้ยับยั้งการร่วมเพศ ส่วนโค้งที่มากกว่า 30 องศา ในทางการแพทย์ถือว่าเป็นเรื่องปกติและไม่ค่อยต้องรักษา เว้นแต่มีมุมเกิน 45 องศา การเปลี่ยนแปลงความโค้งขององคชาตอาจเกิดจากโรคเพโรนีย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: องคชาตของมนุษย์ http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.bmj.com/content/bmj/319/7225/1596.full.... http://www.circumstitions.com/completeman/sidegif.... http://discovermagazine.com/1996/sep/hormonehell86... http://ac.els-cdn.com/S1090513801000903/1-s2.0-S10... http://www.free-condom-stuff.com/education/researc... http://emedicine.medscape.com/article/1058826-over... http://evp.sagepub.com/content/2/1/147470490400200... http://adsabs.harvard.edu/abs/1981Natur.293...55H http://adsabs.harvard.edu/abs/2013PNAS..110.6925M