หน้าที่ทางสรีรวิทยา ของ องคชาตของมนุษย์

การถ่ายปัสสาวะ

ดูบทความหลักที่: การถ่ายปัสสาวะ

ในเพศชาย การขับปัสสาวะออกจากร่างกายจะเสร็จสิ้นผ่านทางองคชาต โดยท่อปัสสาวะระบายน้ำออกจากกระเพาะปัสสาวะ ผ่านต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อกับท่อฉีดอสุจิ และต่อลงไปยังองคชาตต่อไป ที่รากขององคชาต (ใกล้กับจุดสิ้นสุดของคอร์ปัส สปอนจิโอซัม) ที่อยู่ตรงกล้ามเนื้อหูรูดภายนอก นี่คือหูรูดของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลายและในผู้ชายสุขภาพดีภายใต้การควบคุมโดยสมัครใจ การผ่อนคลายหูรูดท่อปัสสาวะช่วยให้ปัสสาวะในท่อปัสสาวะตอนบน ไหลเข้าสู่องคชาตอย่างถูกต้องและทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง

ทางสรีรวิทยา การถ่ายปัสสาวะเกี่ยวพันกับการประสานงานกันระหว่างระบบประสาทส่วนกลาง อัตโนวัติ และโซมาติก ในทารก หรือผู้สูงอายุบางคน ที่มีอาการบาดเจ็บของระบบประสาท การถ่ายปัสสาวะอาจเกิดขึ้นในฐานะรีเฟล็กซ์โดยไม่สมัครใจ ศูนย์สมองที่ควบคุมการปัสสาวะ ได้แก่ ศูนย์ถ่ายปัสสาวะพอนทีน (Pontine micturition center), เนื้อเทาพีเรียคืวดักทัล (Periaqueductal gray) และเปลือกสมอง[17] ในระหว่างการแข็งตัว ศูนย์เหล่านี้จะยับยั้งการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อทำหน้าที่แยกทางสรีรวิทยาระหว่างการขับถ่ายและการสืบพันธุ์ขององคชาต และป้องกันปัสสาวะเข้าไปอยู่ในท่อปัสสาวะระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ[18]

ตำแหน่งถ่ายทิ้ง

ส่วนปลายของท่อปัสสาวะช่วยให้มนุษย์เพศชายปัสสาวะได้โดยตรงโดยผ่านองคชาต ความยืดหยุ่นช่วยให้เพศชายสามารถจัดท่าทางในการปัสสาวะได้ ในวัฒนธรรมที่มากกว่าขั้นต่ำในการสวมใส่เสื้อผ้า องคชาตช่วยให้เพศชายสามารถปัสสาวะในขณะยืนอยู่ได้โดยไม่ต้องถอดเสื้อผ้า ธรรมเนียมสำหรับผู้ชายบางคนอาจปัสสาวะในท่านั่งหรือหมอบ ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวอาจได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อทางศาสนาหรือวัฒนธรรม[19] งานวิจัยทางการแพทย์นอกเหนือจากท่าทางที่มีอยู่ แต่ยังมีข้อมูลความเป็นแบบเดียวกัน การวิเคราะห์อภิมาน[20]สรุปหลักฐานที่พบว่าไม่มีท่าทางที่นอกเหนือในวัยหนุ่ม ผู้ชายที่มีสุขภาพดี สำหรับชายสูงอายุที่มีกลุ่มอาการระบบทางเดินปัสสาวะต่ำ (Lower urinary tract symptoms) อย่างไรก็ตามในท่านั่งเมื่อเปรียบเทียบกับท่ายืน:

  • ปริมาณที่เหลือภายหลังการถ่ายทิ้ง (Post void residual; PVR, มิลลิลิตร) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
  • การไหลของปัสสาวะสูงสุด (Qmax, มิลลิลิตรต่อวินาที) เพิ่มขึ้น
  • เวลาการถ่ายทิ้ง (Void time; VT, วินาที) ลดลง

ข้อมูลปัสสาวะพลวัตนี้สัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

การแข็งตัว

การพัฒนาของอวัยวะเพศชายในขณะแข็งตัว แสดงให้เห็นถึงหนังหุ้มปลายองคชาต (Foreskin) ที่ค่อย ๆ ถอนออกจนปรากฏให้เห็นหัวองคชาต (Glans)
ดูเพิ่มเติม: ภาพในคอมมอนส์ภาพมุมมองด้านท้องขององคชาตขณะอ่อนตัว (ภาพซ้าย) และภาพขณะแข็งตัว (ภาพกลาง) และภาพมุมมองด้านบนขององคชาตขณะแข็งตัว (ภาพขวา)
ดูบทความหลักที่: การแข็งตัวขององคชาต

การแข็งตัวคือการแข็งและขยายขึ้นขององคชาต ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะมีอารมณ์ทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีอารมณ์ทางเพศได้เช่นกัน กลไกทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวขององคชาตเป็นการกว้างขึ้นอัตโนวัติของหลอดเลือดแดงหล่อเลี้ยงไปยังองคชาต ซึ่งจะช่วยให้เลือดไหลไปมากขึ้นเพื่อเต็มเติมเนื้อเยื้อฟองน้ำของอวัยวะภายในองคชาต ซึ่งทำให้มันยาวขึ้นและแข็ง เนื้อเยื่อของอวัยวะเพศในตอนนี้ขยายขี้นไปกดหลอดเลือดดำที่จะนำเลือดออกจากองคชาต เลือดที่มากขึ้นเมื่อเข้ามาแล้วจะคงอยู่ในองคชาตเมื่อสภาวะสมดุลถึงที่ปริมาตรที่เท่ากันของเลือดไหลเข้าสู่หลอดเลือดแดงที่ขยายตัวและออกไปทางเส้นเลือดดำที่ตืบ ขนาดการแข็งตัวที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นความสำเร็จของดุลยภาพนี้

การแข็งตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการร่วมเพศ แม้ว่าจะไม่จำเป็นสำหรับกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ อีกมากมาย

องศาการแข็งตัว

แม้ว่าองคชาตโดยมากจะแข็งตัวขึ้นไปด้านบน (ดังภาพตัวอย่างประกอบ) มันเป็นเรื่องธรรมดาและปกติที่เมื่อองคชาตแข็งตัวจะขี้ไปในลักษณะแนวเกือบตั้งขึ้นหรือเกือบตั้งลงในแนวนอนหรือแม้ในแนวตรง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความตึงของเส้นเอ็นพยุงที่เก็บไว้ในตำแหน่ง

ตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงมุมต่าง ๆ สำหรับมุมในขณะที่ผู้ชายยืนอยู่ ตัวอย่างจากผู้ชาย 1,564 คน อายุระหว่าง20 ถึว 69 ปี ในตารางนี้ ค่าศูนย์องศาจะชี้ตรงกับช่องท้อง, 90 องศาในแนวนอนและชี้ตรงไปด้านหน้า, ขณะที่ 180 องศาจะชี้ตรงลงไปที่เท้า โดยส่วนมากแล้วมักเป็นมุมชี้ขึ้น[21]

การเกิดของมุมขณะแข็งตัว
มุม (°)
จากแนวตั้งขึ้น
เปอร์เซ็นต์
ของเพศชาย
0-304.9
30-6029.6
60-8530.9
85-959.9
95-12019.8
120-1804.9

การหลั่งน้ำอสุจิ

ดูบทความหลักที่: การหลั่งน้ำอสุจิ

การหลั่งน้ำอสุจิคือการขับดันของน้ำอสุจิจากองคชาต ซึ่งมักเกิดขึ้นพร้อมกับความเสียวสุดยอดทางเพศ การหดตัวเป็นชุดของกล้ามเนื้อช่วยส่งน้ำอสุจิ ซึ่งบรรทุกเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย ที่รู้จักกันว่า เซลล์อสุจิ หรือสเปิร์มาโตซูน (Spermatozoon) จากองคชาต มักเป็นผลมาจากการการกระตุ้นทางเพศ ซึ่งอาจรวมถึงการกระตุ้นต่อมลูกหมาก และที่หาได้ยากจากอาการโรคต่อมลูกหมากโต การหลั่งน้ำอสุจิอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติในระหว่างการนอน (รู้จักกันว่าฝันเปียก) ส่วน Anejaculation เป็นภาวะเงื่อนไขของการที่ไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้

การหลั่งน้ำอสุจิมีสองขั้นตอน คือ การปล่อยออกมา และ การหลั่งน้ำอสุจิอย่างสมบูรณ์ ขั้นตอนการปล่อยออกมาของรีเฟล็กซ์การหลั่งน้ำอสุจิอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ขณะที่ขั้นตอนการหลั่งน้ำอสุจิอยู่ภายใต้การควบคุมของรีเฟล็กซ์เอ็นลึกที่ระดับของประสาทไขสันหลัง S2–4 ผ่านประสาทอวัยวะเพศ ระยะดื้อจากความสำเร็จในการหลั่งน้ำอสุจิและการกระตุ้นทางเพศที่มีมาก่อน[22]

แหล่งที่มา

WikiPedia: องคชาตของมนุษย์ http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.bmj.com/content/bmj/319/7225/1596.full.... http://www.circumstitions.com/completeman/sidegif.... http://discovermagazine.com/1996/sep/hormonehell86... http://ac.els-cdn.com/S1090513801000903/1-s2.0-S10... http://www.free-condom-stuff.com/education/researc... http://emedicine.medscape.com/article/1058826-over... http://evp.sagepub.com/content/2/1/147470490400200... http://adsabs.harvard.edu/abs/1981Natur.293...55H http://adsabs.harvard.edu/abs/2013PNAS..110.6925M