องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่มีเป้าหมายในการพัฒนามาตรฐานอาหารและสารอาหาร รวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านโภชนาการ อาหาร การเกษตร ป่าไม้และประมง ให้ประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายการเกษตร โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทย ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลด้านการเกษตร โดยเฉพาะด้านการผลิต ตามการร้องขอของ FAO เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์และเผยแพร่ต่อไป โดยที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ตอบแบบสอบถามของ FAO ในเรื่องปุ๋ย ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญสำหรับภาคเกษตร รวมถึงพยายามลดปริมาณผู้ยากไร้ขาดอาหาร ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในเมือง ควิเบกซิตี รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา และในปี พ.ศ. 2490 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาที่ วอชิงตัน ดี.ซี. และในปัจจุบันสำนักงานใหญ่อยู่ที่โรม ประเทศอิตาลีปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 197 ประเทศ มีการประชุมทุก ๆ 2 ปี โดยตัวแทนประเทศและสหภาพยุโรป ซึ่งเลือกสมาชิกสภาผู้บริหาร 49 คน[1] อธิบดีปัจจุบัน คือ Qu Dongyu จากประเทศจีนทำหน้าที่เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร[2] มีคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ดูแลเรื่องต่าง ๆ เช่น การเงิน โปรแกรม เกษตรกรรม และการประมง

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ

ต้นสังกัด คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
เว็บไซต์ www.fao.org
จัดตั้ง 16 ตุลาคม 1945; 74 ปีก่อน (1945-10-16)
ประเภท หน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ
สถานะ ทำงาน
หัวหน้า อธิบดี
Qu Dongyu
สำนักงาน โรม, อิตาลี
รัสพจน์ เอฟเอโอ (FAO)

ใกล้เคียง

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์