ประวัติ ของ อสมท

บจก.ไทยโทรทัศน์

เนื่องจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการจัดบริการวิทยุและโทรทัศน์ ขึ้นในประเทศไทย โดยนำเสนอในรูป โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่กลุ่มข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ เปลี่ยนไปใช้วิธีจัดตั้งในรูปนิติบุคคลชื่อว่า บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495[3]

องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

ต่อมาภายหลัง บจก.ไทยโทรทัศน์ ประสบปัญหาการดำเนินกิจการ คณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงลงมติให้ยุบเลิกกิจการ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 และมีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2520 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้ง องค์การของรัฐบาล พุทธศักราช 2496 เพื่อดำเนินการจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบกิจการสื่อสารมวลชน และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่อง หรือใกล้เคียงกับกิจการสื่อสารมวลชน ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร รวมถึงให้โอนพนักงานและลูกจ้างของ บจก.ไทยโทรทัศน์ เข้าเป็นพนักงาน ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งรับโอนกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ มาดำเนินงานสืบต่อ ซึ่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520[3]

ต่อมาในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ก่อตั้งสำนักข่าวไทยขึ้นอีกหน่วยงานหนึ่ง เพื่อดำเนินงานผลิตและเผยแพร่ข่าวสาร นับว่าเป็นสำนักข่าวแห่งแรกของไทย และในปี พ.ศ. 2532 องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ โทรทัศน์ผ่านระบบเคเบิล, สัมปทานให้เอกชนเช่าสัมปทานและความถี่ และร่วมดำเนินธุรกิจกับเอกชน ในการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก เป็นครั้งแรกของประเทศไทย คือ ไอบีซี (เริ่มสัญญาเมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2532) ซึ่งต่อมารวมกิจการกับยูทีวี (เริ่มสัญญาเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ปัจจุบันคือทรูวิชันส์) ทั้งนี้ ยังมีสถานีโทรทัศน์ไทยสกายอีกแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว)

บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

จากนั้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547 องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อแปลงสภาพองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจฯ[3] โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 600 ล้านหุ้น ปัจจุบันมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวนร้อยละ 65[4] บมจ.อสมท เข้าจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และกระจายหุ้นสู่มหาชน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ก่อนหน้านั้น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด เป็นบริษัทย่อย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สำหรับผลิตรายการและสารคดีให้กับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ บมจ.อสมท), หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่หรือจำหน่ายแก่สถานีโทรทัศน์ ทั้งในและต่างประเทศ

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  • ข้อมูล ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556 [5]
ลำดับที่รายชื่อผู้ถือหุ้นจำนวนหุ้นสามัญสัดส่วนการถือหุ้น
1กระทรวงการคลัง452,134,02265.80%
2ธนาคารออมสิน78,865,97811.48%
3บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด33,254,8764.84%
4GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION C19,116,1002.78%
5AMERICAN INTERNATIONAL ASSURANCE COMPANY, LIMITED-APEX5,000,0000.73%

แหล่งที่มา

WikiPedia: อสมท http://www.infosats.com/content/6810/%E0%B8%A2%E0%... http://mcot-th.listedcompany.com/shareholdings.htm... http://mcot.listedcompany.com/newsroom/2011-12-28_... http://mcot.listedcompany.com/newsroom/2012-01-25_... http://mcot.listedcompany.com/newsroom/2012-05-11_... http://mcot.listedcompany.com/newsroom/2012-09-26_... http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorsharehol... http://www.settrade.com/simsImg/news/2012/12047537... http://www.settrade.com/simsImg/news/2012/12058912... http://dtv.mcot.net