อหิงสา
อหิงสา

อหิงสา

อหิงสา หรือ อหึงสา (สันสกฤต: अहिंसा) หมายถึง การไม่เบียดเบียน, การเว้นจากการทำร้าย คำว่า "อหิงสา" ยังหมายถึง การไม่ใช้ความรุนแรง และในศาสนาแบบอินเดียหลายศาสนา มโนทัศน์ดังกล่าวใช้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดรวมทั้งสัตว์[1]อหิงสาเป็นคุณธรรมหลักอย่างหนึ่ง[2]และเป็นความเชื่อสำคัญของศาสนาแบบอินเดียที่สำคัญ (ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธและศาสนาเชน) อหิงสาเป็นมโนทัศน์หลายมิติ[3] ได้รับบันดาลใจจากข้อตั้งที่ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งปวงล้วนมีเสี้ยวหนึ่งของพลังงานวิญญาณเทวะ การทำร้ายสิ่งอื่นจึงเป็นการทำร้ายตนเอง อหิงสายังเกี่ยวข้องกับแนวคิดที่ว่า ความรุนแรงใด ๆ มีผลกรรมสะท้อนกลับมา ขณะที่ปราชญ์ฮินดูสมัยโบราณบุกเบิกและพัฒนาหลักการอหิงสา มโนทัศน์ดังกล่าวกลายมามีสถานะพิเศษในปรัชญาจริยธรรมของศาสนาเชน[2][4] มหาตมา คานธี ขึ้นชื่อมากที่สุดว่าเป็นผู้เชื่อในหลักอหิงสาอย่างแรงกล้า