อักษรปัลลวะ

อักษรปัลลวะ เป็นอักษรสระประกอบในตระกูลอักษรพราหมี ซึ่งพัฒนาขึ้นในตอนใต้ของอินเดียช่วงที่ราชวงศ์ปัลลวะมีอำนาจประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ซึ่งการกำเนิดขึ้นของอักษรครันถะ[1]ในอินเดีย และอักษรต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อักษรบาหลี[2], อักษรชวา[3], อักษรกวิ[4], อักษรไบบายิน[5], อักษรมอญ[6], อักษรพม่า[7], อักษรเขมร[8], อักษรล้านนา[9], อักษรไทย[10], อักษรลาว[11] และ อักษรไทลื้อ[12] รวมทั้งอักษรสิงหล[13] ในศรีลังกา ทั้งหมดได้รับอิทธิพลในทางตรงหรือทางอ้อม มาจากอักษรกทัมพะ-ปัลลวะ[14]ร่างข้อเสนอรหัส ยูนิโค้ด ของอักษรปัลลวะ ได้รับการยอมรับในปี 2561[15]

อักษรปัลลวะ

ช่วงยุค พุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 14
ระบบแม่
ระบบลูก ครันถะ, มอญ, เขมร, กวิ
ชนิด อักษรสระประกอบ
ระบบพี่น้อง ทมิฬ, วัตเตลุตตุ (Vatteluttu)
ภาษาพูด ทมิฬ, มลยาฬัม