อักษรม้ง

อักษรม้ง หรือ พ่าเฮ่าม้อง (Pahawh Hmong; RPA: Phajhauj Hmoob) ประดิษฐ์เมื่อ พ.ศ. 2502 โดย ชอง ลือ ยัง นักวรรณคดีม้งที่อยู่ทางภาคเหนือของลาวใกล้กับเวียดนาม ชางเชื่อว่าอักษรถูกส่งผ่านมายังเขาจากพระเจ้า เขาพยายามฟื้นฟูวัฒนธรรมม้ง แต่ถูกฝ่ายรัฐบาลลอบฆ่าเพราะหวั่นเกรงอิทธิพลของเขาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาออกแบบอักษรสำหรับภาษาขมุด้วยแต่สาบสูญไป อักษรนี้เขียนสระก่อนพยัญชนะแต่ออกเสียงพยัญชนะก่อน มีเสียงวรรณยุกต์ 8 เสียง ชาวม้งที่ใช้อักษรนี้มีน้อย โดยมากเป็นกลุ่มชาตินิยมเพราะอักษรนี้ประดิษฐ์โดยชาวม้งเองอักษรอื่นที่ใช้เขียนภาษาม้งได้แก่อักษรพอลลาร์ด แม้วในจีน ในประเทศไทยใช้อักษรไทย ในช่วง พ.ศ. 2523 – 2533 มีการประดิษฐ์อักษรอื่นๆอีก เช่น เตาว์ ปาย ตวบ ที่มีลักษณะผสมระหว่างอักษรไทยกับอักษรจีน และอักษรไอโอโล ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่เขียนภาษาของตนด้วยอักษรละตินดัดแปลงที่ประดิษฐ์โดย มิชชันนารี วิลเลียม สมอลเลย์ เมื่อ พ.ศ. 2493 ซึ่งการเขียนแบบนี้กำหนดเสียงวรรณยุกต์ด้วยพยัญชนะท้าย

อักษรม้ง

ISO 15924 Hmng
ช่วงยุค พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) –ปัจจุบัน
ระบบแม่
อักษรประดิษฐ์
  • อักษรม้ง
ผู้ประดิษฐ์ ชอง ลือ ยัง
ชนิด อักษรกึ่งพยางค์ (มีเสียงสระเป็นศูนย์กลางคล้ายอักษรสระ)
ภาษาพูด ภาษาม้งเด๊อว
ภาษาม้งจั๊ว