อักษรไทย ของ อักษรไทย

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั–ํ–ิ'"
–ุ–ู–็
ฤๅฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่–้–๊–๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์–๎–ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

พยัญชนะ

พยัญชนะไทยมี 44 รูป แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค เสียงอ่านที่กำกับไว้คือเสียงเมื่อเป็นพยัญชนะต้น

วรรคฐานกรณ์กักสิถิลกักธนิตหรือเสียดแทรกนาสิก
วรรค กะเพดานอ่อนก ไก่
[k]
ข ไข่
[kʰ]
ฃ ขวด¹
[kʰ]
ค ควาย
[kʰ]
ฅ คน¹
[kʰ]
ฆ ระฆัง
[kʰ]
ง งู
[ŋ]
วรรค จะเพดานแข็งจ จาน
[t͡ɕ]
ฉ ฉิ่ง
[t͡ɕʰ]
ช ช้าง
[t͡ɕʰ]
ซ โซ่
[s]
ฌ เฌอ
[t͡ɕʰ]
ญ หญิง
[j]
วรรค ฏะปุ่มเหงือกฎ ชฎา
[d]
ฏ ปฏัก
[t]
ฐ ฐาน
[tʰ]
ฑ มณโฑ
[tʰ]/[d]
ฒ ผู้เฒ่า
[tʰ]
ณ เณร
[n]
วรรค ตะด เด็ก
[d]
ต เต่า
[t]
ถ ถุง
[tʰ]
ท ทหาร
[tʰ]
ธ ธง
[tʰ]
น หนู
[n]
วรรค ปะริมฝีปากบ ใบไม้
[b]
ป ปลา
[p]
ผ ผึ้ง
[pʰ]
ฝ ฝา
[f]
พ พาน
[pʰ]
ฟ ฟัน
[f]
ภ สำเภา
[pʰ]
ม ม้า
[m]
ไตรยางศ์กลางสูงต่ำ
วรรคเปิดหรือรัวเสียดแทรกเปิดข้างลิ้น
ปุ่มเหงือก
กัก
เส้นเสียง
เสียดแทรก
เส้นเสียง
เศษวรรคย ยักษ์
[j]
ร เรือ
[r]
ล ลิง
[l]
ว แหวน
[w]
ศ ศาลา
[s]
ษ ฤๅษี
[s]
ส เสือ
[s]
ห หีบ
[h]
ฬ จุฬา
[l]
อ อ่าง²
[ʔ]
ฮ นกฮูก
[h]
ไตรยางศ์ต่ำสูงต่ำกลางต่ำ
  1. ฃ และ ฅ เป็นอักษรที่ในปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
  2. อ ถือว่าเป็นเสียงว่างให้รูปสระมาเกาะได้

พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

สระ

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง (ดูที่ ภาษาไทย)

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง

เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้

  • เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
  • เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
  • เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
  • เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
  • เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)

รูปวรรณยุกต์

เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป ดังนี้

ไม้เอก (-่) ไม้โท (-้) ไม้ตรี (-๊) และ ไม้จัตวา (-๋)

อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เอก (-่) และไม้โท (-๋)[ต้องการอ้างอิง] เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า)

การผันเสียงวรรณยุกต์

โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ ๕ เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้

หมู่อักษร-คำเป็นคำตายเสียงสามัญเสียงเอกเสียงโทเสียงตรีเสียงจัตวา
อักษรกลาง คำเป็นกาก่าก้าก๊าก๋า
อักษรกลาง คำตาย สระสั้น-กะก้ะก๊ะก๋ะ
อักษรกลาง คำตาย สระยาว-กาบก้าบก๊าบก๋าบ
อักษรสูง คำเป็น-ข่าข้า-ขา
อักษรสูง คำตาย สระสั้น-ขะข้ะ--
อักษรสูง คำตาย สระยาว-ขาบข้าบ--
อักษรต่ำ คำเป็นคา-ค่าค้า-
อักษรต่ำ คำตาย สระสั้น--ค่ะคะค๋ะ
อักษรต่ำ คำตาย สระยาว--คาบค้าบค๋าบ

คำตายของอักษรกลางและอักษรสูง ไม่ว่าสระจะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ผันวรรณยุกต์ตามรูปแบบเดียวกัน เว้นแต่คำตายของอักษรต่ำ เมื่อเป็นสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวจะผันคนละแบบ

อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ ๕ เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี

ตัวเลข

ดูบทความหลักที่: เลขไทย

ตัวเลขที่เป็นอักษรไทย เรียกว่าเลขไทย มีลักษณะดังนี้

๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙

วิธีการบอกจำนวนใช้ระบบประจำหลักเหมือนกับตระกูลเลขฮินดู-อารบิกอื่น ๆ

เครื่องหมายวรรคตอน