อาการท้องผูก
อาการท้องผูก

อาการท้องผูก

อาการท้องผูก[8](อังกฤษ: constipation)หมายถึงการถ่ายอุจจาระไม่บ่อยหรือยาก[2]อุจจาระบ่อยครั้งจะแข็งและแห้ง[4]อาการอื่น ๆ ที่อาจมีรวมปวดท้อง ท้องขึ้น (bloating) และรู้สึกเหมือนกับว่ายังถ่ายไม่หมด[3]ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งโรคริดสีดวงทวาร แผลทวารหนัก (anal fissure) และอุจจาระอัดแน่น (fecal impaction)[4]ความถี่การถ่ายอุจจาระปกติของผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 3 ครั้งต่อวัน จนถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์[4]ส่วนทารกบ่อยครั้งจะถ่าย 3-4 ครั้งต่อวัน และเด็กเล็ก ๆ ปกติจะถ่าย 2-3 ครั้งต่อวัน[9]ท้องผูกมีเหตุหลายอย่าง[4]เหตุสามัญรวมทั้งอุจจาระเคลื่อนไปในลำไส้ใหญ่ช้าเกินไป, กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น, และความผิดปกติของฐานเชิงกราน (pelvic floor disorders)[4]โรคที่เป็นมูลฐานของอาการรวมทั้งภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, โรคเบาหวาน, โรคพาร์คินสัน, celiac disease[upper-alpha 1], การแพ้กลูเตน (NCGS)[upper-alpha 2],มะเร็งลำไส้ใหญ่, diverticulitis[upper-alpha 3], และโรคลำไส้อักเสบ (IBD)[4][17][5][6]ยาที่ทำให้ท้องผูกรวมทั้งโอปิออยด์ ยาลดกรดบางชนิด แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ และ anticholinergics[4]ในบรรดาคนไข้ที่ทานยาโอปิออยด์ ประมาณ 90% จะท้องผูก[18]ท้องผูกน่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นถ้าน้ำหนักลดหรือโลหิตจาง, มีเลือดในอุจจาระ, ครอบครัวมีประวัติโรคลำไส้อักเสบ (IBD) หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่, หรือเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ในผู้สูงอายุ[19]การรักษาจะขึ้นอยู่กับเหตุและระยะเวลาที่เป็นมาแล้ว[4]พฤติกรรมที่อาจช่วยรวมทั้งการดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานใยอาหารเพิ่ม และออกกำลังกาย[4]ถ้านี่ยังไม่ได้ผล ก็แนะนำให้ใช้ยาระบายต่าง ๆ ทั้งแบบเพิ่มเนื้ออุจจาระ, แบบเพิ่มน้ำ (osmotic agent), แบบทำอุจจาระให้นิ่ม, หรือแบบหล่อลื่น[4]ส่วนยาระบายแบบ stimulant ที่กระตุ้นเยื่อเมือกลำไส้หรือข่ายประสาทลำไส้ เปลี่ยนการหลั่งน้ำและอิเล็กโทรไลต์ และเปลี่ยนการบีบตัวของลำไส้ จะเก็บไว้ใช้เป็นอย่างสุดท้ายถ้าอย่างอื่นไม่ได้ผล[4]การรักษาอย่างอื่นรวมทั้ง biofeedback (การวัดการตอบสนองทางสรีรภาพด้วยเครื่องมือโดยมีจุดประสงค์เพื่อจะควบคุมการตอบสนองเช่นนั้น ๆ) หรือในกรณีที่น้อยมาก การผ่าตัด[4]ในกลุ่มประชากรทั่วไป อัตราการท้องผูกอยู่ที่ 2-30%[7]ส่วนสำหรับอายุ25ในบ้านคนหนุ่ม อัตราจะอยู่ที่ 50-75%[18]อาการทุกอย่างหายเป็นปกติ

อาการท้องผูก

อาการ ถ่ายไม่บ่อยหรือยาก ปวดท้อง ท้องขึ้น[3][2]
สาขาวิชา วิทยาทางเดินอาหาร
ความชุก 2-30%[7]
สาเหตุ อุจจาระเคลื่อนไปได้ช้าในลำไส้ใหญ่, กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS), celiac disease[upper-alpha 1], การแพ้กลูเตน (NCGS)[upper-alpha 2], ความผิดปกติของฐานเชิงกราน (pelvic floor disorders)[4][5][6]
ปัจจัยเสี่ยง ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, โรคเบาหวาน, โรคพาร์คินสัน, โรคเกี่ยวกับกลูเตน, มะเร็งลำไส้ใหญ่, diverticulitis[upper-alpha 3], โรคลำไส้อักเสบ (IBD), ยาบางชนิด[4][5][6]
ยา ยาระบายแบบเพิ่มเนื้ออุจจาระ, แบบเพิ่มน้ำ (osmotic agent), แบบทำอุจจาระให้นิ่ม, หรือแบบหล่อลื่น[4]
ภาวะแทรกซ้อน ริดสีดวงทวารหนัก แผลทวารหนัก อุจจาระอัดแน่น[4]
การรักษา ดื่มน้ำให้พอ ทานใยอาหารเพิ่ม ออกกำลังกาย[4]
ชื่ออื่น Costiveness[1], dyschezia[2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการท้องผูก http://www.betterhealth.vic.gov.au/bhcv2/bhcarticl... http://www.australianprescriber.com/magazine/33/4/... http://www.diseasesdatabase.com/ddb3080.htm http://www.emedicine.com/med/topic2833.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=564.... http://www.medicinenet.com/constipation/article.ht... http://www.merriam-webster.com/dictionary/costiven... http://www.nature.com/doifinder/10.1038/nrgastro.2... http://www.pelviperineology.com/pelvis/severe_cons... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/1465185...