ศิลปกรรมแบบศรีโคตรบูร ของ อาณาจักรโคตรบูร

ตำนานโบราณที่กล่าวถึงเรื่องราวของอาณาจักรโคตรบูรคือ อุรังคธาตุนิทานหรือพื้นธาตุหัวอก ตำนานดังกล่าวกล่าวถึงการสร้างโบราณสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทคือ เจดีย์พระธาตุพนมที่เมืองธาตุพนม (อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม) ในช่วงพุทธศักราช 8 นักวิชาการบางกลุ่มเห็นว่าอาจอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 แต่บางกลุ่มเห็นว่าอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-8 พระเจดีย์ธาตุพนมเป็นเจติยสถานที่เก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและนักวิชาการบางกลุ่มเห็นว่าอาจเก่าแก่ที่สุดของไทยและมีอายุมากกว่าสองพันปีมาแล้ว มหาชนเชื่อกันว่าภายในพระเจดีย์มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนหน้าพระอุระของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่า พระอุรังคธาตุ หรือ อุลังกะทาด ลวดลายและภาพที่สลักบนแผ่นอิฐหรือดินจี่ประดับรอบพระธาตุเจดีย์ทั้ง 4 ด้าน เป็นลักษณะศิลปกรรมของตนเองโดยเฉพาะ ศิลปกรรมรูปแบบดังกล่าวพบกระจายอยู่ทั่วไปบนใบเสมา หลักหิน ลายอิฐ เครื่องทอง แผ่นเงิน และเครื่องใช้ทั่วประเทศลาวและภาคอีสาน โดยนักวิชาการลาวและอีสานเรียกศิลปกรรมรูปแบบดังกล่าวว่า ศิลปกรรมแบบศรีโคตรบูร หรือ ศิลปะศรีโคตรบูร ศิลปกรรมดังกล่าวมีลักษณะร่วมกันกับศิลปกรรมกลุ่มสาเกตุนครในแถบอีสานตอนกลาง-ตอนล่าง และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศิลปกรรมแบบจามหรืออาณาจักรจุลณีกับศิลปกรรมแบบขอมยุคแรกซึ่งมีศูนย์กลางที่อีสานใต้ กัมพูชา และกระจายตัวมาที่สกลนครตลอดจนเมืองโบราณทรายฟองของลาว นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าศิลปกรรมแบบศรีโคตรบูรส่งอิทธิพลต่อศิลปกรรมแบบทวารวดีบริเวณทิวเขาดงพญาไฟและทิวเขาพนมดงรักตลอดจนส่งอิทธิพลต่อคติการสร้างใบเสมาและเมืองโบราณในแถบจังหวัดพิษณุโลก (นครไทย) เพชรบูรณ์ พิจิตร นครนายก นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สุโขทัย และอยุธยา และมีอิทธิพลไปจนถึงทวารวดีบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งสันนิษฐานว่าศิลปกรรมแบบศรีโคตรบูรเป็นต้นกำเนิดงานศิลปกรรมในอาณาจักรล้านช้างยุคต่อมาหลายประการ อาทิ การสร้างใบเสมา การสร้างเจดีย์ทรงน้ำเต้า-ดอกปลี หรือทรงบัวเหลี่ยม เป็นต้น ตลอดจนลวดลายทางศิลปกรรมที่มีลักษณะโค้งงอ ปลายม้วนมน ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในลาวและอีสานมาจนปัจจุบัน นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่า การสร้างเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูมในแถบสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง อาจได้รับอิทธิพลมาจากการสร้างเจดีย์ทรงน้ำเต้าในศิลปกรรมศรีโคตรบูรแถบลุ่มน้ำโขง ส่วนการสร้างเจดีย์ทรงระฆังคว่ำของภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทย อาจได้รับอิทธิพลจากการสร้างเจดีย์ทรงหม้อน้ำในศิลปกรรมศรีโคตรบูรแถบอีสานตอนกลาง

ประเภทของศิลปกรรมแบบศรีโคตรบูร

1. ศิลปะศรีโคตรบูรแบบลาวเดิมหรือแบบลาวแท้

2. ศิลปะศรีโคตรบูรแบบอิทธิพลศิลปะจาม

3. ศิลปะศรีโคตรบูรแบบอิทธิพลศิลปะขอม

4. ศิลปะศรีโคตรบูรแบบพิเศษหรือแบบผสมผสาน

5. ศิลปะศรีโคตรบูรแบบอิทธิพลศิลปะลาวล้านช้าง

6. ศิลปะศรีโคตรบูรแบบอิทธิพลศิลปะกลุ่มสาเกตนครและอีสานใต้

7. ศิลปะศรีโคตรบูรแบบอิทธิพลศิลปะทวาราวดีกลุ่มกุลุนทนคร

8. ศิลปะศรีโคตรบูรแบบอิทธิพลศิลปะทวาราวดีกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ใกล้เคียง

อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรธนบุรี อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรพระนคร อาณาจักรปตานี อาณาจักรแห่งกาลเวลา

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาณาจักรโคตรบูร http://chuthamas.com/history/thaihis1.htm http://e-shann.com/?p=6057 http://www.khongriverso.com/index.php?option=com_c... http://www.tourinthai.com/sitetravel/travel-detail... http://www.vtetoday.la/%E0%BA%AB%E0%BB%8D%E0%BA% http://www.portfolios.net/forum/topics/2988839:Top... http://lek-prapai.org/home/view.php?id=1052 http://lek-prapai.org/home/view.php?id=717 http://kanchanapisek.or.th/kp8/nkp/nkp202.html http://www.e-learning.sg.or.th/ac4_22/content3.htm...