อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมในยุคสำริด (ประมาณ 2500 - 1900 ก่อนคริสตกาล) ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรก ๆ ของโลก ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่ายุคฮารัปปัน วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่มจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ มีเมืองสำคัญที่ได้รับการขุดค้นแล้ว 2 แห่ง คือ เมืองฮารับปา และโมเหนโจ – ดาโร ทั้งสองเมืองมีอารยธรรมที่เหมือนกันทุกประการ แม้ห่างกัน 350 ไมล์ (600 กิโลเมตร) จัดเป็นสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ อินเดีย เพราะพบจารึกจำนวนมาก แต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออกอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุถูกโจมตีอย่างรุนแรง พบโครงกระดูกถูกฆ่าตายจำนวนมาก หรืออาจล่มสลายเพราะภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วม หรือโรคระบาด หรือเพราะความมั่งคั่งชาวอารยันผู้รุกราน ค่อย ๆ แพร่จากภาคเหนือไปทางตะวันออก และลงไปทางใต้อย่างช้า ๆ ลงไปยังดินแดนคาบสมุทรเดคข่าน (ซึ่งยังเป็นวัฒนธรรมหินใหม่อยู่) นำเอาทองแดง และเหล็กไปเผยแพร่ ทางใต้จึงเปลี่ยนจากหินใหม่เป็นโลหะทันทีเมื่ออารยันตั้งหลักแหล่งในประเทศอินเดียแล้ว จึงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์อินเดียอย่างแท้จริง