อาวาร์ยูเรเชีย
อาวาร์ยูเรเชีย

อาวาร์ยูเรเชีย

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งอาวาร์ยูเรเชีย หรือ อาวาร์ยุโรป หรือ อาวาร์โบราณ (อังกฤษ: Eurasian Avars หรือ European Avars หรือ Ancient Avars) เป็นกลุ่มชนที่มีระบบสังคมที่มีระเบียบแบบแผน และเป็นสหพันธ์ของกลุ่มชนที่มีอำนาจที่มาจากหลายชาติพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กับชนบัลการ์, ชนคาซาร์ และกลุ่มชนที่พูดภาษาโอเกอร์ (Oghur languages) ในขณะนั้น อาวาร์ยูเรเชียปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “คากาน” หรือ “มหาข่าน” (Khagan หรือ Great Khan) ผู้ล้อมรอบตัวด้วยนักการทหารที่มาจากกลุ่มชนเร่ร่อน (nomad) ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับระบบของกลุ่มชนชนเตอร์กิกโดยทั่วไป อาวาร์ยูเรเชียปรากฏเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในชื่อรูราน (Rouran) ที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณพรมแดนทางตอนเหนือของจีนและมีอำนาจอยู่ในบริเวณนั้นอยู่ราวสองร้อยปี[1] ก่อนที่จะมาปรากฏตัวในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และมามีอิทธิพลในบริเวณส่วนใหญ่ของที่ราบแพนโนเนียน (Pannonian Plain) มาจนกระทั่งถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 นอกจากในยุโรปแล้วอาวาร์ยูเรเชียยังปรากฏในอินเดียในชื่ออาเฮอร์ (ahir)