การค้าเชิงพาณิชย์ ของ อาหาร

การนำเข้าอาหารใน พ.ศ. 2548

การนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศ

ธนาคารโลกรายงานว่า สหภาพยุโรปเป็นผู้นำเข้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลกใน พ.ศ. 2548 ตามด้วยสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ปัจจุบันอาหารมีการแลกเปลี่ยนและค้าขายกันในระดับโลกเป็นหลัก ความหลากหลายและการเข้าถึงอาหารไม่ถูกจำกัดโดยความแตกต่างของอาหารที่ปลูกขึ้นในท้องถิ่นหรือข้อจำกัดของฤดูเพาะปลูกอีกต่อไป[32] ระหว่าง พ.ศ. 2504 ถึง 2542 มีการส่งออกอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตถึง 400%[33] ปัจจุบัน บางประเทศพึ่งพาการส่งออกมาอาหารในทางเศรษฐกิจ ซึ่งบางประเทศส่งออกอาหารคิดเป็นถึงมากกว่า 80% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด[34]

ใน พ.ศ. 2537 มากกว่า 100 ประเทศเป็นผู้ลงนามในการประชุมความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) รอบอุรุกวัย ในการเพิ่มการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งรวมทั้งความตกลงที่จะลดการจ่ายเงินอุดหนุนแก่เกษตรกร ซึ่งเคยได้รับการสนับสนุนจากการบังคับการสนับสนุนเงินเกษตรกรรม ภาษีศุลกากร โควตานำเข้าสินค้า และการแก้ปัญหาข้อพิพาทด้านการค้าซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้แบบทวิภาคี ขององค์การการค้าโลก[35] เมื่อมีการตั้งการกีดกันทางการค้าบนพื้นฐานพิพาทของสาธารณสุขและความปลอดภัย องค์การการค้าโลกจะหยิบยกกรณีพิพาทนั้นสู่คณะกรรมาธิการอาหารสากล (Codex Alimentarius Commission) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2505 โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก การเปิดเสรีทางการค้าได้มีผลกระทบต่อการค้าอาหารของโลกอย่างมาก[36]

การตลาดและการขายปลีก

อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่วางขายอยู่บนชั้นในซูเปอร์มาร์เกตแห่งหนึ่ง

การตลาดอาหารเป็นลำดับกิจกรรมซึ่งนำอาหารจากฟาร์มจนถึงผู้บริโภค การตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารเพียงอย่างหนึ่งนั้นอาจเป็นกระบวนการอันซับซ้อนซึ่งมีผู้ผลิตและบริษัทหลายรายเข้ามาเกี่ยวข้องได้ ตัวอย่างเช่น ในการผลิตซุปก๋วยเตี๋ยวไก่กระป๋องหนึ่งมีห้าสิบหกบริษัทเข้ามาเกี่ยวข้อง ธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องเฉพาะผู้ดำเนินการผลิตไก่และผักเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริษัทที่ขนส่งส่วนประกอบอาหารและบริษัทที่พิมพ์ฉลากและผลิตกระป๋องด้วย[37] ระบบการตลาดอาหารเป็นนายจ้างภาคเอกชนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

ช่วงก่อนสมัยใหม่ การขายอาหารส่วนเกินนั้นมีขึ้นทุกสัปดาห์โดยเกษตรกรจะนำผลผลิตไปขายในวันที่มีตลาดสดของหมู่บ้าน ที่ซึ่งอาหารถูกขายแก่ร้านขายของชำในร้านค้าท้องถิ่นและจะมีผู้บริโภคในท้องถิ่นไปซื้อ[16][24] ด้วยการเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มีอาหารหลากชนิดขึ้นที่สามารถขายและกระจายไปยังพื้นที่ห่างไกลได้

ไม่เหมือนกับผู้ผลิตอาหาร การขายปลีกอาหารนั้มีบริษัทขนาดใหญ่มากควบคุมซูเปอร์มาร์เก็ตเพียงไม่กี่แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีอนำาจซื้อสูงเหนือเกษตรกรและผุ้ผลิต และมีอิทธิพลอย่างมากต่อผุ้บริโภค อย่างไรก็ดี เงินน้อยกว่า 10% จากผู้บริโภคตกถึงมือเกษตรกร โดยเงินส่วนใหญ่จ่ายเป็นค่าโฆษณา ค่าขนส่งและบริษัทคนกลาง[38]

ราคา

ไฟล์:FAO food-price-index 1990-2011.pngดัชนีราคาอาหารโลก พ.ศ. 2533-2554 สังเกตราคาอาหารสูงเป็นสถิติในช่วงวิกฤติราคาอาหารโลก (พ.ศ. 2550–2551) ตามด้วยการผันผวนของราคาอีกครั้งนับแต่ พ.ศ. 2553

มีรายงานในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 ว่า ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังเผชิญกับราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น[39] เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการเปลียนแปลงขนาดใหญ่ในเศรษฐกิจโลก รวมทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ปริมาณสำรองอาหารลดลง และความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในจีนและอินเดีย[39] ในระยะยาว มีการคาดว่าราคาอาหารจะมีเสถียรภาพ[39] โดยเกษตรกรจะปลูกพืชเป็นทั้งเชื้อเพลิงและอาหาร ซึ่งจะดึงราคากลับลงมา[39] โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในกรณีของข้าวสาลีแล้ว[40][41] โดยมีการปลูกธัญพืชดังกล่าวมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา แคนาดาและยุโรปใน พ.ศ. 2552 อย่างไรก็ดี องค์การอาหารและการเกษตรเสนอว่าผู้บริโภคยังต้องรับมือกับอาหารที่แพงขึ้นจนถึง พ.ศ. 2561[39] ในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 การให้เงินอุดหนุนฟาร์มและโครงการสนับสนุนทำให้ประเทศส่งออกธัญพืชรายใหญ่ของโลกมีปริมาณผลผลิตเกินมาก ซึ่งสามารถระบายออกมาในช่วงขาดแคลนอาหารเพื่อให้ราคาลดลงได้ อย่างไรก็ตาม นโยบายการค้าแบบใหม่ทำให้การผลิตทางเกษตรกรรมตอบสนองต่อความต้องการของตลาดมากขึ้นมาก และทำให้ปริมาณอาหารสำรองของโลกอยู่ในระดับต่ำสุดนับแต่ พ.ศ. 2526[39]

ในช่วงห้าปีหลัง (พ.ศ. 2546-2551) เห็นได้ว่ามีสัดส่วนอุตสาหกรรมการผลิตนมเหลวและนมผงของชาติเอเชียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งใน พ.ศ. 2551 คิดเป็นสัดส่วนการผลิตมากกว่า 30% โดยจีนเพียงประเทศเดียวมีสัดส่วนการผลิตและการบริโภคในอุตสาหกรรมแปรรูปและถนอมผลไม้และผักทั่วโลกถึงมากกว่า 10% แนวโน้มดังกล่าวปรากฏชัดเจนเช่นกันในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มอัดลมและน้ำขวด เช่นเดียวกับการผลิตโกโก้ ช็อกโกแลตและลูกกวาดน้ำตาลโลก โดยพยากรณ์ว่าจะเติบโต 5.7% และ 10% ตามลำดับใน พ.ศ. 2551 ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[42]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหาร http://www.britannica.com/EBchecked/topic/212568/f... http://www.chemistryexplained.com/Fe-Ge/Food-Prese... http://edition.cnn.com/2009/WORLD/europe/11/17/ita... http://www.ibisworld.com/newsletter/issues/us/08ma... http://www.medicalnewstoday.com/articles/28063.php http://www.reuters.com/article/idUSTRE57652C200908... http://www.foodsafety.gov/keep/basics/index.html http://www.niaid.nih.gov/publications/pdf/foodalle... http://www.ers.usda.gov/Briefing/ http://www.fsis.usda.gov/Fact_Sheets/Chicken_Food_...