การเตรียมการครัว ของ อาหาร

ส่วนประกอบอาหารในการทำแกงเขียวหวาน

หลายวัฒนธรรมมีอาหารที่คนจำได้ ซึ่งเป็นชุดของประเพณีการทำอาหารโดยใช้เครื่องเทศที่หลากหลายหรือการประกอบกันขึ้นของรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมนั้น ซึ่งวิวัฒนาตามกาลเวลา ความแตกต่างอื่นรวมถึงความพึงใจ (ร้อนหรือเย็น เผ็ด เป็นต้น) และการปฏิบัติอาหาร ซึ่งการศึกษาเรื่องดังกล่าวเรียกว่า วิทยาการทำอาหาร หลายวัฒนธรรมสร้างความหลากหลายในอาหารของตนโดยวิธีการเตรียม วิธีการปรุง และการผลิต ซึ่งยังรวมถึงการแลกเปลี่ยนอาหารอันซับซ้อนซึ่งช่วยให้วัฒนธรรมต่าง ๆ อยู่รอดเชิงเศรษฐกิจได้ด้วยวิถีอาหาร มิใช่เพียงการบริโภคเท่านั้น อาหารประจำชาติที่ได้รับความนิยม อาทิ อาหารอิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน อเมริกา แคจุน ไทยและอินเดีย หลายวัฒนธรรมทั่วโลกศึกษาการวิเคราะห์พฤติกรรมอาหาร ขณะที่ในทางวิวัฒนาการ มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช แม้จะมิใช่ในทางปฏิบัติ ศาสนาและสิ่งสร้างทางสังคม เช่น ศีลธรรม ลัทธิดำเนินการ (activism) หรือสิ่งแวดล้อมนิยมมักมีผลกระทบต่ออาหารที่มนุษย์บริโภคบ่อยครั้ง อาหารถูกรับประทานและเพลิดเพลินตามปกติผ่านสัมผัสรับรส ความเข้าใจของรสชาติจากการกินและดื่ม บางรสชาติสามารถเพลิดเพลินได้มากกว่ารสอื่น โดยมีจุดประสงค์ด้านวิวัฒนาการ

ความเข้าใจรสชาติอาหาร

ดูบทความหลักที่: รสชาติ

สัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ มีรสชาติห้าแบบที่แตกต่างกัน คือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอูมามิ เมื่อสัตว์วิวัฒนา รสชาติที่ให้พลังงานมากที่สุด (ซึ่งก็คือ น้ำตาลและไขมัน) เป็นที่พอใจที่จะได้กินมากที่สุด ขณะที่รสอื่น เช่น ขม ไม่น่าพึงใจสักเท่าใด[11] ตรงข้ามกับไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไขมันอิ่มตัว หนากว่าและมันกว่า ดังนั้นจึงถูกมองว่าน่าพึงใจที่จะได้กินมากกว่า

หวาน

อาหารหวาน

รสชาติหวานโดยทั่วไปถือว่าเป็นรสที่น่าพึงพอใจที่สุด เกือบทุกครั้งเกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวประเภทใดประเภทหนึ่ง อย่างกลูโคสหรือฟรักโทส หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ อย่าง ซูโครส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ประกอบกันขึ้นจากกลูโคสและฟรักโทส คาร์โบไฮเดรตซับซ้อนเป็นโซ่ยาวและไม่มีรสชาติ สารให้ความหวานสังเคราะห์ เช่น ซูคราโลส ใช้เพื่อเลียนแบบโมเลกุลน้ำตาล ทำให้เกิดความรู้สึกหวาน แต่ไม่ให้แคลอรี น้ำตาลประเภทอื่นรวมไปถึงน้ำตาลดิบ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันจากสีอำพันของมัน เป็นน้ำตาลที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการ เนื่องจากน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญและสำคัญต่อการดำรงชีวิต รสชาติของน้ำตาลจึงน่าพึงใจ

เปรี้ยว

ผลไม้สกุลส้มฝานบางหลายชนิด

รสเปรี้ยวเกิดจากรสของกรด เช่น น้ำส้มสายชูในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารเปรี้ยวมีทั้งพืชสกุลส้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลมอน มะนาว และที่เปรี้ยวน้อยกว่าอย่างส้ม รสเปรี้ยวมีความสำคัญในเชิงวิวัฒนาการเพราะเป็นสัญญาณว่าอาหารนั้นอาจเน่าเสียไปเพราะแบคทีเรีย อย่างไรก็ดี อาหารหลายชนิดค่อนข้างเป็นกรด และช่วยกระตุ้นต่อมรับรสและทำให้เกิดรสชาติขึ้นได้

เค็ม

ความเค็มเป็นรสชาติของไอออนโลหะแอลคาไล เช่น โซเดียมและโพแทสเซียม ซึ่งไอออนดังกล่าวพบในอาหารเกือบทุกชนิดในสัดส่วนน้อยถึงปานกลางที่ทำให้เกิดรส แม้การทานเกลือบริสุทธิ์มักเป็นสิ่งที่ไม่พึงใจอย่างยิ่ง มีเกลือมากมายหลายประเภท แต่ละอย่างก็มีระดับความเค็มแตกต่างกันออกไป มีทั้งเกลือสมุทร เฟลอเดอแซล เกลือโคเชอร์ เกลือสินเธาว์ และเกลือเทา นอกเหนือไปจากการให้รสชาติแล้ว ความสำคัญของเกลือคือ ร่างกายต้องการและรักษาสมดุลอิเล็กโทรไลต์อย่างละเอียดอ่อน ซึ่งเป็นหน้าที่ของไต

เกลืออาจเติมไอโอดีนได้ ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่สนับสนุนการทำงานของไทรอยด์ อาหารกระป๋องบางอย่าง ที่โดดเด่นคือ ซุปและซุปห่อ มักมีเกลือปริมาณสูงเพื่อเป็นวิธีถนอมอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น ในอดีต เกลือถูกใช้เป็นสารกันเสียของเนื้อ เพราะเกลือกระตุ้นให้เกิดการขับน้ำ ดังนั้นจึงทำหน้าที่เป็นเหมือนสารกันเสีย คล้ายกัน อาหารแห้งยังเพิ่มความปลอดภัยของอาหารด้วย[12]

ขม

ความขมเป็นการรับรสที่ไม่เป็นที่พอใจอย่างยิ่ง โดยมีลักษณะเป็นรสชาติฉุนเสียดแทง ดาร์กช็อกโกแลตหรือช็อกโกแลตที่ยังไม่เติมน้ำตาล คาเฟอีน ผิวเลมอน ผลไม้บางชนิดเป็นที่รู้จักกันว่ามีรสขม

อูมามิ

ดูบทความหลักที่: อูมามิ

อูมามิ เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น หมายถึง อร่อย เป็นรสชาติที่รู้จักกันน้อยที่สุด แต่มีประวัติยาวนานในอาหารเอเชีย อูมามิเป็นรสชาติของกลูตาเมต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) มีลักษณะเป็นรสอร่อย รสเนื้อและมัน แซลมอนและเห็ดเป็นอาหารที่มีอูมามิสูง เนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์อย่างอื่นก็ถูกระบุว่ามีรสอูมามิเช่นกัน

การจัดอาหาร

การจัดอาหารตามหลักความงามและดึงดูดตาสามารถกระตุ้นให้คนบริโภคอาหารได้ มีคำกล่าวโดยทั่วไปว่าคน "ทานอาหารด้วยตา" อาหารที่ถูกจัดในวิธีที่สะอาดและน่ารับประทานจะกระตุ้นให้รสชาติอาหารดีขึ้น แม้จะไม่ค่อยน่าพึงใจก็ตาม[13]

การเตรียมอาหาร

แม้อาหารหลายชนิดสามารถรับประทานได้ดิบ ๆ แต่อีกหลายชนิดก็ต้องผ่านขั้นตอนการเตรียมบางอย่างด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ความน่ารับประทาน ความรู้สึกในปาก หรือรสชาติ ในขั้นเบื้องต้น การเตรียมอาหารอาจมีทั้งการล้าง การตัด การเล็ม หรือการเพิ่มอาหารหรือส่วนประกอบอาหารอื่น เช่น เครื่องเทศ นอกจากนี้ การเตรียมอาหารอาจมีการผสม การให้ความร้อนหรือความเย็น การทำอาหารแบบใช้ความดัน การหมัก หรือการประกอบกับอาหารอื่น ที่บ้าน การเตรียมอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นในครัว การเตรียมอาหารบางอย่างเป็นไปเพื่อเพิ่มรสชาติหรือให้ดึงดูดตามากขึ้น ส่วนการเตรียมอาหารอย่างอื่นอาจช่วยถนอมอาหาร และบางอย่างเกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

การเตรียมเนื้อสัตว์

การเตรียมอาหารที่มาจากสัตว์นั้นมักเกี่ยวข้องกับการฆ่า การผ่าท้อง การแขวน การแบ่งส่วน และการแปรสภาพซากสัตว์ ในประเทศพัฒนาแล้ว ขั้นตอนต่าง ๆ มักทำนอกบ้านในโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งใช้เพื่อนำสัตว์ทั้งหมดผ่านกระบวนการการผลิตเนื้อสัตว์ ส่วนในระดับท้องถิ่น คนชำแหละเนื้ออาจทุบเนื้อขนาดใหญ่ให้เป็นชิ้นขนาดเล็ก แล้วห่อ นอกเหนือจากนี้ ปลาและอาหารทะเลอาจเตรียมเป็นชิ้นขนาดเล็กโดยพ่อค้าปลา อย่างไรก็ดี การชำแหละปลาอาจทำได้บนเรือประมงและแช่แข็งอาหารนั้นอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาคุณภาพไว้[14]

การทำอาหาร

การทำอาหารด้วยกระทะเหล็กในจีน
ดูบทความหลักที่: การทำอาหาร

คำว่า "การทำอาหาร" นั้นครอบคลุมวิธีการ อุปกรณ์และการประกอบส่วนประกอบอาหารทั้งหลายเพื่อเพิ่มรสชาติหรือการย่อยได้ของอาหารนั้น เทคนิคการทำอาหาร เช่น ศิลปะการทำอาหาร โดยทั่วไปแล้วต้องอาศัยการเลือก วัด และประกอบส่วนประกอบอาหารเป็นลำดับขั้นตอนในความพยายามเพื่อให้ได้ผลออกมาตามต้องการ ข้อจำกัดของความสำเร็จนั้นรวมถึงส่วนประกอบอาหาร สภาพแวดล้อม อุปกรณ์ และทักษะของคนครัวแต่ละคน[15] ความหลากหลายของการทำอาหารทั่วโลกสะท้อนถึงการพิจารณาทางโภชนาการ สุนทรีย์ เกษตรกรรม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและศาสนามากมายที่มีผล[16]

การทำอาหารจำเป็นต้องให้ความร้อนแก่อาหาร ซึ่งโดยปกติ แม้จะไม่เสมอไป ที่มีการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลทางเคมี ดังนั้นจึงเปลี่ยนรสชาติ รสสัมผัส ลักษณะปรากฏและคุณสมบัติทางโภชนาการไปด้วย[17] การทำอาหารโปรตีนบางอย่าง เช่น ไข่ขาว เนื้อสัตว์และปลา ทำให้โปรตีนสูญเสียสภาพ และทำให้มันแข็ง การต้มเป็นวิธีการทำอาหารที่ต้องอาศัยภาชนะบรรจุ มีการปฏิบัติมาอย่างน้อยตั้งแต่สหัสวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล ด้วยการใช้เครื่องปั้นดินเผา[18]

อุปกรณ์ทำอาหาร

ในการทำอาหารมีการใช้อุปกรณ์มากมายหลายชนิด

เตาอบส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์มีโพรงสำหรับให้ความร้อนสูง และใช้ในการอบหรือย่าง และวิธีการทำอาหารแบบร้อนแห้ง อาหารต่าง ๆ ต้องใช้เตาอบต่างชนิดกัน ตัวอย่างเช่น อาหารอินเดียใช้เตาอบทันดูร์ (Tandoor oven) ซึ่งเป็นเตาดินเหนียวทรงกระบอกซึ่งใช้ความร้อนสูงเพียงค่าเดียว ครัวตะวันตกใช้เตาอบลมร้อน เตาอบธรรมดา เตาปิ้งหรือเตาอบแบบให้แผ่ความร้อนอย่าง เตาไมโครเวฟ ซึ่งสามารถปรับเปลียนอุณหภูมิได้ อาหารอิตาลีคลาสสิกรวมไปถึงการใช้เตาอิฐซึ่งให้ความร้อนโดยการเผาไม้ฟืน เตาอบนี้อาจใช้การเผาไม้ เผาถ่าน ใช้แก๊ส ไฟฟ้าหรือเผาน้ำมัน

มีการใช้เตา (cooktop) อีกหลายแบบเช่นกัน ซึ่งมีประเภทเชื้อเพลิงหลายประเภทตามที่ได้กล่าวมาในส่วนเตาอบข้างบน เตาใช้เพื่อให้ความร้อนแก่ภาชนะบนแหล่งความร้อน เช่น กระทะขอบตั้ง (sauté pan) หม้อต้ม กระทะทอด หรือหม้อความดัน อุปกรณ์เหล่านี้สามารถใช้วิธีทำอาหารแบบชื้นหรือแห้งได้

นอกเหนือจากนี้ หลายวัฒนธรรมยังใช้เตาย่าง (grill) ในการทำอาหาร เตาย่างอาศัยการแผ่ความร้อนจากแหล่งที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งมักปิดด้วยตะแกรงโลหะและบางครั้งมีที่ปิดด้วย

การเตรียมอาหารดิบ

ซูชิซึ่งเป็นอาหารดิบอย่างหนึ่ง

หลายวัฒนธรรมเน้นอาหารสัตว์และพืชแบบดิบ ๆ สลัด ซึ่งประกอบด้วยผักและผลไม้ดิบ พบได้ในหลายประเทศ ซาชิมิในอาหารญี่ปุ่น ประกอบด้วยปลาดิบหรือเนื้อสัตว์ดิบเฉือนเป็นชิ้นบาง และซูชิมักมีปลาดิบหรืออาหารทะเลดิบเป็นส่วนประกอบด้วย สเต็กทาร์ทาร์และแซลมอนทาร์ทาร์เป็นอาหารที่ทำจากเนื้อวัวดิบหรือแซลมอนดิบมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือบด ผสมกับส่วนประกอบอาหารอื่นอีกหลายชนิด แล้วเสิร์ฟพร้อมกับขนมปังฝรั่งเศส (บาแก็ต), ขนมปังบริยอช (brioche) หรือมันฝรั่งทอด[19] ในอิตาลี คาร์ปาชชิโอเป็นอาหารซึ่งประกอบด้วยเนื้อวัวเฉือนบางมาก ๆ ราดด้วยวินนะเกรท (vinaigrette) ซึ่งทำจากน้ำมันมะกอก[20] การรับประทานอาหารดิบเป็นความเคลื่อนไหวด้านอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งนำเสนออาหารมังสวิรัติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีผลไม้ ผักและธัญพืชดิบ ซึ่งเตรียมได้หลายวิธี เช่น การสกัดน้ำ การอบแห้งอาหาร และวิธีการเตรียมอื่นซึ่งไม่ใช้ความร้อนเกิน 47.8 °C[21] ตัวอย่างของอาหารเนื้อดิบ เช่น เซบิเช (ceviche) อาหารละตินอเมริกาซึ่งทำจากเนื้อดิบที่ปรุงโดยน้ำผลไม้ที่มีกรดซิตริกสูงจากเลมอนและมะนาว ร่วมกับพืชมีกลิ่นอย่างอื่น เช่น กระเทียม

การผลิตอาหาร

อาหารในบรรจุภัณฑ์ถูกผลิตนอกบ้านเพื่อขาย ซึ่งอาจเรียบง่ายเหมือนพ่อค้าเนื้อกำลังเตรียมเนื้อ หรือซับซ้อนเหมือนอุตสาหกรรมอาหารระหว่างประเทศสมัยใหม่ เทคนิคการแปรรูปอาหารขั้นต้นถูกจำกัดเฉพาะแต่การถนอมอาหาร การห่อบรรจุ และการขนส่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเติมเกลือ การหมัก การเปลี่ยนเป็นนมข้น การอบแห้ง การแช่น้ำเกลือ การหมักดอง และการรมควัน[22] การผลิตอาหารเกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19[23] พัฒนาการนี้อาศัยประโยชน์จากตลาดมวลชนใหม่และการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การโม่บด การถนอมอาหาร การห่อบรรจุและติดฉลาก และการขนส่ง ซึ่งได้นำมาซึ่งประโยชน์ของการเตรียมอาหารล่วงหน้าเพื่อประหยัดเวลาแก่คนทั่วไปจำนวนมากที่ไม่ได้จ้างคนรับใช้ภายในบ้าน[24]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหาร http://www.britannica.com/EBchecked/topic/212568/f... http://www.chemistryexplained.com/Fe-Ge/Food-Prese... http://edition.cnn.com/2009/WORLD/europe/11/17/ita... http://www.ibisworld.com/newsletter/issues/us/08ma... http://www.medicalnewstoday.com/articles/28063.php http://www.reuters.com/article/idUSTRE57652C200908... http://www.foodsafety.gov/keep/basics/index.html http://www.niaid.nih.gov/publications/pdf/foodalle... http://www.ers.usda.gov/Briefing/ http://www.fsis.usda.gov/Fact_Sheets/Chicken_Food_...