อาเรบีตซา

อาเรบีตซา (บอสเนีย: arebica) หรือ อาราบีตซา (arabica) เป็นอักษรอาหรับรูปแบบหนึ่งที่ใช้เขียนภาษาบอสเนีย เคยใช้เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 (พุทธศตวรรษที่ 20-24) เป็นความพยายามของมุสลิมที่จะพัฒนาอักษรอาหรับมาใช้เขียนภาษาบอสเนียนอกเหนือจากอักษรละตินและอักษรซีริลลิกสำหรับภาษาเซอร์เบีย หนังสือที่พิมพ์ด้วยอักษรนี้ตีพิมพ์ครั้งสุดท้ายเมื่อ ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) อักษรนี้ใช้ในทางศาสนาและการบริหาร แต่ใช้น้อยกว่าอักษรอื่น ๆอักษรอาเรบีตซามีพื้นฐานมาจากตัวเขียนเปอร์เซีย-อาหรับที่เคยใช้ในจักรวรรดิออตโตมัน โดยเพิ่มอักษรสำหรับเสียง t͡s, ʎ และ ɲ ซึ่งไม่มีในภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย หรือภาษาตุรกีออตโตมัน ในที่สุดก็มีการประดิษฐ์ตัวอักษรแทนเสียงสระได้ทุกเสียง อาเรบีตซาจึงจัดเป็นระบบสระ-พยัญชนะโดยแท้จริง ไม่ใช่อักษรไร้สระรูปแบบล่าสุดของอักษรอาเรบีตซาออกแบบโดย Mehmed Džemaludin Čaušević เมื่อราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ต้นพุทธศตวรรษที่ 25) เรียกว่าแบบมาทูฟอวีตซา ([Matufovica] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)), มาทูฟอวาตชา ([Matufovača] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) หรือเมกเทบีตซา ([Mektebica] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))ตัวอย่าง:

ใกล้เคียง