สภาพทางภูมิศาสตร์ ของ อำเภอแม่สอด

ที่ตั้งและอาณาเขต

แม่สอดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดตาก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 42 ลิปดา 47 พิลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 98 องศา 34 ลิปดา 29 พิลิปดาตะวันออก สูงกว่าระดับน้ำทะเล 215 เมตร ณ ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สอด อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.5 ไร่ ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของจังหวัดตาก รองจากอำเภออุ้มผาง และอำเภอสามเงา

อำเภอแม่สอดมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภออื่นในประเทศไทย 3 อำเภอ และ 1 รัฐในประเทศพม่า ดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศ

อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.11 ของเนื้อที่จังหวัด (เนื้อที่จังหวัด 16,406.650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันซับซ้อนสลับกับหุบเขาแคบ ๆ ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอเป็นที่ราบประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่อำเภอ และประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ปกครองไปด้วยป่าโปร่งป่าดงดิบและป่าสน ภูเขาบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาถนนธงชัยที่ต่อลงมาจากทางตอนใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ ทอดผ่านจังหวัดตากและอำเภอแม่สอด ลงไปจนเชื่อมต่อกับทิวเขาตะนาวศรี จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเมยซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอแม่สอด ตั้งอยู่ในภาคเหนือค่อนไปทางตะวันตกของประเทศไทยประกอบด้วยป่าไม้และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นทิวเขาถนนธงชัยสูงสลับซับซ้อนเป็นตัวแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตากตะวันออก คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และอำเภอวังเจ้า ส่วนฝั่งตากตะวันตก คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอพบพระ อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง

ส่วนที่เป็นที่ราบต่ำถึงเป็นลอนลาด มีความสูงอยู่ระหว่าง 80-200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 16 ของจังหวัด บริเวณที่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนชันมีความสูงอยู่ระหว่าง 200-300 เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 10.5 ของจังหวัด

พื้นที่ที่เหลือเป็นเนินเขาเตี้ยไปจนถึงภูเขาสูง ซึ่งในกลุ่มนี้ มีพื้นที่ที่มีความสูงระหว่าง 300-700 เมตรจากระดับน้ำทะเลอยู่ร้อยละ 34.8 ของจังหวัด และมีความสูงมากกว่า 700-2,200 เมตร อยู่ร้อยละ 38.4 ของจังหวัด ยอดเขาสูงสุดทางตะวันออกของอำเภอท่าสองยางที่เคยวัดได้ มีความสูง 1,752 เมตร และยอดเขาสูงสุด ทางตะวันออกของอำเภออุ้มผางที่เคยวัดได้มีความสูง 1,898 เมตรจากระดับน้ำทะเล

มีพื้นที่การเกษตร 346,116 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 1,390,494 ไร่ และพื้นที่อยู่อาศัย 27,6701 ไร่

แหล่งน้ำ

  • แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน นอกจากจะเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างชายแดนตะวันออกของพม่ากับแนวชายแดนตะวันตกของไทย ที่มีความยาว 327 กิโลเมตร มีต้นน้ำอยู่ที่บ้านมอเกอ ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ และไหลย้อนขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอท่าสองยางไปถึงแม่ฮ่องสอน ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน
  • ห้วยแม่สอด
  • ห้วยหัวฝาย
  • ห้วยแห้ง
  • ห้วยแม่ตาว
  • ห้วยม่วง
  • อ่างเก็บน้ำบ้านหัวฝาย
  • อ่างเก็บน้ำบ้านห้วยลึก

ลักษณะทางธรณีวิทยา

กลุ่มหินของยุคไทรแอสซิกบริเวณแม่สอดนั้นเคยแบ่งเป็น กลุ่มหินลำปาง แต่จากการศึกษาเพิ่มเติมในปัจจุบันได้แยกออกเป็น 2 หน่วย แต่ไม่มีรายละเอียดเหมือนกับยุคจูแรสซิก โดยยุคไทรแอสซิก เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ? 0.4 ถึง 199.6 ? 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี

ลักษณะภูมิอากาศและอุตุนิยมวิทยา

แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
แม่สอด (วิธีอ่าน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
3.5
 
31
14
 
 
5.3
 
34
16
 
 
6
 
36
20
 
 
35
 
37
23
 
 
179
 
34
24
 
 
257
 
31
23
 
 
305
 
30
23
 
 
354
 
30
23
 
 
174
 
31
23
 
 
108
 
32
22
 
 
21
 
31
19
 
 
3
 
30
15
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร
ที่มา: อุณหภูมิและปริมาณฝนแม่สอดค่าเฉลี่ย30ปี[5]
แสดงข้อมูลเป็นมาตราอังกฤษ
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
0.1
 
87
58
 
 
0.2
 
92
62
 
 
0.2
 
96
67
 
 
1.4
 
98
73
 
 
7
 
93
75
 
 
10.1
 
87
74
 
 
12
 
86
74
 
 
13.9
 
85
73
 
 
6.9
 
87
73
 
 
4.3
 
89
72
 
 
0.8
 
88
66
 
 
0.1
 
86
59
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาฟาเรนไฮต์
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นนิ้ว

อำเภอแม่สอดมีสภาพภูมิประเทศ มีเทือกเขาถนนธงชัยเป็นตัวปะทะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน จึงรับอิทธิพลจากลมมรสุมมากกว่าจังหวัดตากฝั่งตะวันออกทำให้ปริมาณฝนตก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่ในเขตภูเขา เช่นนี้อากาศจะหนาวเย็นมาก

ปริมาณน้ำฝนปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยของพื้นที่ ระหว่างปี 2535-2544 จะอยู่ในช่วง 651.10 มม.ถึง 1,556.30 มม. ฝนตกมากที่สุดในปี 2542 วัดได้ถึง 1,556.30 มม.จำนวนวันฝนตก 154 วัน ส่วนฝนตกน้อยที่สุด ในปี 2535 วัดได้ 651.10 มม. จำนวนวันฝนตก 74 วันอุณหภูมิในช่วงระหว่างปี 2535-2544 พื้นที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง 25.00 องศาเซลเซียส ถึง 40.00 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำที่สุดค่าเฉลี่ยปานกลาง 5.00 องศาเซลเซียสถึง 20.23 โดยอุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 44.1 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนมีนาคม 2506 อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 4.5 องศาเซลเซียส เมื่อ 26 ธันวาคม 2542[6]ความชื้นสัมพัทธ์ในช่วงระหว่างปี 2539 - 2543 พื้นที่มีความชื้นเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง 69 เปอร์เซ็นต์ ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ความชื้นเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในช่วง 43 เปอร์เซ็นต์ ถึง 53 เปอร์เซ็นต์โดยความชื้นเฉลี่ยต่ำสุดที่วัดได้เมื่อปี 2541 และ ความชื้นสูงสุดอยู่ในช่วง 95 เปอร์เซ็นต์ ถึง 96 เปอร์เซ็นต์