อิเล็กตรอน
อิเล็กตรอน

อิเล็กตรอน

อิเล็กตรอน (อังกฤษ: electron) (สัญลักษณ์ e-) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ ไม่มีใครรู้จักส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานของมัน; ในคำกล่าวอื่น ๆ เช่น คาดกันโดยทั่วไปว่ามันจะเป็นอนุภาคที่เป็นมูลฐาน อิเล็กตรอนมีมวลที่เป็นประมาณ 1/18636 เท่าของโปรตอน โมเมนตัมเชิงมุมภายใน (สปิน) ของอิเล็กตรอนเป็นค่าครึ่งจำนวนเต็มในหน่วยของ ħ ซึ่งหมายความว่ามันเป็น เฟอร์มิออน (fermion) ปฏิยานุภาคของอิเล็กตรอนเรียกว่าโพซิตรอน มันเป็นเหมือนกันกับอิเล็กตรอนยกเว้นแต่ว่าจะมีค่าประจุไฟฟ้าและอื่น ๆ ที่มีลักษณะตรงกันข้าม เมื่ออิเล็กตรอนชนกันกับโพซิตรอน อนุภาคทั้งสองอาจกระจัดกระจายออกจากกันและกัน หรือถูกประลัย (annihilate)โดยสิ้นเชิง การผลิตคู่ (หรือมากกว่านั้น) เกิดขึ้นจากโฟตอนรังสีแกมมา อิเล็กตรอน ซึ่งถือเป็นรุ่นแรกของตระกูลอนุภาคเลปตอน (lepton) มีส่วนร่วมในแรงโน้มถ่วง มีปฏิสัมพันธ์กับแรงแม่เหล็กไฟฟ้าและอันตรกิริยาอย่างอ่อน อิเล็กตรอนเช่นเดียวกับสสารทั้งหมด มีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ควอนตัมของทั้งคู่อนุภาคและคลื่น วิ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียสตามระดับพลังงานของอะตอมนั้นๆ โดยส่วนมากของอะตอม จำนวน อิเล็กตรอน ในอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีเท่ากับจำนวน โปรตอน เช่น ไฮโดรเจนมีโปรตอน 1 ตัว และอิเล็กตรอน 1 ตัว ฮีเลียมมีโปรตอน 2 ตัว และอิเล็กตรอน 2 ตัวนักปรัชญาธรรมชาติชาวอังกฤษชื่อ ริชาร์ด เลมมิ่ง (Richard Laming) ได้ตั้งสมมติฐานแรกที่เป็นแนวคิดของการแบ่งแยกปริมาณของประจุไฟฟ้าเพื่อที่จะอธิบายคุณสมบัติทางเคมีของอะตอมไว้ในปี ค.ศ. 1838;

อิเล็กตรอน

ส่วนประกอบ อนุภาคมูลฐาน[1]
ปฏิยานุภาค โพซิตรอน (หรือเรียกว่าปฏิกิริยาอิเล็กตรอน)
มวล 9.10938356(11)×10−31 kg[6]
5.48579909070(16)×10−4 u[6]
[1,822.8884845(14)]−1 u[note 1]
0.5109989461(31) MeV/c2[6]
Magnetic moment −1.00115965218076(27) μB[6]
ค้นพบโดย J. J. Thomson (1897)[5]
สปิน 1/2
อายุเฉลี่ย stable ( > 6.6×1028 yr[7])
สถิติ (อนุภาค) Fermionic
ทฤษฎีโดย Richard Laming (1838–1851),[2]
G. Johnstone Stoney (1874) และอื่น ๆ[3][4]
ชั่วรุ่น ที่ 1
ประจุไฟฟ้า −1 e[note 2]
−1.602176565(35)×10−19 C[6]
−4.80320451(10)×10−10 esu
อันตรกิริยาพื้นฐาน แรงโน้มถ่วง, แม่เหล็กไฟฟ้า, อย่างอ่อน

ใกล้เคียง

อิเล็กตรอน อิเล็กตรอนโวลต์ อิเล็กทรอนิกส์ อิเล็กทรอนิกส์กำลัง อิเล็กทรอนิก อาตส์ อิเล็กทรอนิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป อิเล็กทรอนิกส์ ออสซิลเลเตอร์ อิเล็กทรอนิกา อิเล็กทรอนิกส์ร็อก อิเล็กทรอนิกส์สถานะของแข็ง

แหล่งที่มา

WikiPedia: อิเล็กตรอน http://books.google.com/?id=NmM-KujxMtoC&pg=PA26 http://books.google.com/?id=UtYRAAAAYAAJ http://books.google.com/?id=aJZVQnqcwv4C&pg=PA221 http://books.google.com/?id=uwgNAtqSHuQC&pg=PR7 http://books.google.com/books?id=KnynjL44pI4C&pg=P... http://www.neutron.rmutphysics.com/chemistry-gloss... http://scienceworld.wolfram.com/biography/Franklin... http://adsabs.harvard.edu/abs/1907Natur..77....1C http://adsabs.harvard.edu/abs/1983QJRAS..24...24B http://link.aps.org/doi/10.1103/PhysRevLett.115.23...