ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย

ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย (ของข้อมูล) หรือ ฮิวริสติกโดยความพร้อมใช้งาน[1] (อังกฤษ: availability heuristic) เป็นทางลัดการแก้ปัญหา (ฮิวริสติก) โดยอาศัยตัวอย่างต่าง ๆ ที่นึกขึ้นได้เป็นอย่างแรกวิธีแก้ปัญหาชนิดนี้อาศัยไอเดียว่า ถ้าเราสามารถระลึกถึงอะไรได้ง่าย ๆ สิ่งนั้นจะต้องมีความสำคัญและเพราะเหตุนั้น เรามักจะให้น้ำหนักกับข้อมูลที่ใหม่ที่สุด ทำให้มีความคิดเห็นเอนเอียงไปทางข่าวล่าสุด[2]นอกจากนั้นแล้ว สิ่งที่เรานึกได้เกี่ยวกับผลของการกระทำหนึ่ง ๆ จะมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเกี่ยวกับความสำคัญของผลนั้น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ผลของการกระทำยิ่งระลึกถึงได้ง่ายแค่ไหน เราก็จะรู้สึกว่าผลนั้นมีความสำคัญยิ่งขึ้นเท่านั้นคือ เราไม่ได้เพียงแค่พิจารณาถึงข้อมูลที่ระลึกได้เมื่อทำการตัดสินใจแต่เรายังใช้ความยากง่ายในการนึกถึงสิ่งนั้นเป็นข้อมูลอีกอย่างหนึ่งในการตัดสินใจซึ่งมีผลเด่นที่สุดอย่างหนึ่งคือ เราจะใช้ข้อมูลที่ระลึกได้ในการตัดสินใจถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้ทำให้เกิดความน่าสงสัยเพราะยากที่จะระลึกถึง[3]มีหลักวิธีแก้ปัญหา 3 อย่างที่เราใช้เมื่อไม่แน่ใจซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในการประเมินความน่าจะเป็นหรือในการพยากรณ์ผล โดยใช้กระบวนการตัดสินใจที่ง่ายกว่า (ฮิวริสติก) คือแม้ว่า การแก้ปัญหาโดยความเข้าถึงได้ง่ายของตัวอย่างและสถานการณ์บางครั้งจะได้ผลดี แต่ว่าจริง ๆ แล้ว ความง่ายต่อการคิดถึงเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ไม่ได้เป็นตัวสะท้อนที่ดีว่าเหตุการณ์นี้มีความน่าจะเป็นจริง ๆ ในชีวิตเท่าไร[5] ยกตัวอย่างเช่น ถ้าถามนักศึกษามหาวิทยาลัยว่า มีนักศึกษามาจากจังหวัดเลยหรือจังหวัดตากมากกว่ากัน คำตอบก็มักจะอาศัยข้อมูลตัวอย่างที่นักศึกษาจะระลึกได้[6] (แต่อาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง)

ใกล้เคียง

ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย ฮิวริสติกโดยการตั้งหลักและการปรับ ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน ฮิวริสติก (แก้ความกำกวม) ฮิวริสติก (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ฮิวริสติก ฮิว กริฟฟิท

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย http://www.businessinsider.com/the-availability-bi... http://www.investopedia.com/university/behavioral_... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/bsl.237... http://dtserv2.compsy.uni-jena.de/__C1257641005FF6... //doi.org/10.1002%2Facp.2350090202 //doi.org/10.1002%2Fbsl.2370070106 //doi.org/10.1007%2Fs10551-008-9690-7 //doi.org/10.1016%2F0001-6918(93)e0072-a //doi.org/10.1016%2F0010-0285(73)90033-9 //doi.org/10.1016%2Fs0022-5371(67)80066-5