เกาะสิเหร่

เกาะสิเหร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต โดยมีคลองท่าจีนกั้นระหว่างเกาะกับแผ่นดินใหญ่ ซึ่งอาจจะนับเป็นเกาะแยกออกมาหรือเป็นพื้นที่รวมเป็นหนึ่งของเกาะภูเก็ตก็ได้ อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลรัษฎาในอำเภอเมืองภูเก็ต โดยมีสะพานใหญ่เชื่อมติดต่อกันโดยสะดวกชายหาดที่เกาะสิเหร่ ทุกหาดมีทิวทัศน์ที่สวยงาม แต่ไม่เหมาะกับการเล่นน้ำ เพราะน้ำทะเลมีลักษณะขุ่นเล็กน้อย เป็นทรายปนโคลนและมีหินปะการังเล็กๆ ขึ้นอยู่เต็ม แต่บนหาดทรายเหมาะกับการพักผ่อนและกิจกรรมนันทนาการเพราะบรรยากาศเงียบสงบ บนเกาะมีโรงเรียนของรัฐอยู่ 1 โรง คือ โรงเรียนเกาะสิเหร่ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2478 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต ซึ่งผ่านการประเมินให้เป็นโรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) วัดเขาเกาะสิเหร่ ชื่อปัจจุบัน “วัดบ้านเกาะสิเหร่” เริ่มดำเนินการก่อสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2503 โดยหลวงพ่อสุภา กนฺตสีโล เป็นผู้ดำเนินงาน ด้วยความสนับสนุนของญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา วัดเขาเกาะสิเหร่ ได้ดำเนินการก่อสร้างไปอย่างต่อเนื่อง ท่านใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 6 ปี อาคารส่วนใหญ่ที่ใช้ประกอบศาสนกิจจำเป็นต่างๆ ก็สำเร็จ ถือได้ว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ ร่มรื่นและสะดวกสบาย เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมอีกวัดหนึ่งและตั้งชื่อธรรมสถานแห่งนี้ไว้ว่าวัดเกาะสิเหร่ เพื่อให้คล้องจองกับเกาะสิเหร่ซึ่งชาวภูเก็ตทั่วๆ ไป เรียกว่า “เขาหมอน” หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล จึงปรารภกับ คุณสวัสดิ์ อุทัยศรี ศุลกากรเขตภูเก็ตว่า จะสร้างพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ขนาดความยาวประมาณ 20 เมตร ญาติโยมทั้งหลายต่างอนุโมทนาเห็นดีด้วย จึงจัดกฐินและผ้าป่าไปถวายเพื่อไปสมทบทุนสร้างพระพุทธไสยาสน์ อันเป็นปูชนียวัตถุสำคัญ และถือเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดภูเก็ตพระพุทธไสยาสน์ได้เริ่มก็สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2504 ใช้งบประมาณกว่า 10 ล้านบาท เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ขนาดความยาวองค์ตลอด 18.5 เมตร ประดิษฐานไว้บนยอดเขาหมอนหรือเขาเกาะสิเหร่ เมื่อสร้างเสร็จ หลวงปู่ได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานแววพระเนตร จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ตามคำกราบบังคมทูลขอเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเล อุรักลาโว้ยหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ชาวไทยใหม่” ที่มาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ที่เกาะสิเหร่ มีจำนวนมากกว่า 200 หลังคาเรือน ใช้ภาษาพูดแต่ไม่ใช้ภาษาเขียน สำเนียงคล้ายภาษามลายู ชาวเลที่นี่มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย โดยทำอาชีพประมงเป็นหลัก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนหมู่บ้านชาวเล บ้านแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ และต่อมา สมเด็จย่าฯ ทรงทราบถึงความต้องการของการมีบัตรประชาชนของชาวอุรักลาโว้ย สมเด็จย่าฯ จึงได้พระราชทาน ชื่อและสกุล ให้แก่ชาวเล ที่เกาะสิเหร่ และหาดราไวย์ว่า “ประโมงกิจ” เป็นที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จย่าฯ มาจนทุกวันนี้ สมเด็จย่าฯ ทรงเยี่ยมเยียนชาวเล บ้านแหลมตุ๊กแก อีกหลายครั้ง คำว่า "สิเหร่" แปลว่า ใบพลู