เขื่อนแม่กลอง

เขื่อนแม่กลอง เดิมชื่อ เขื่อนวชิราลงกรณ ซึ่งเป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ขนานนามว่า เขื่อนวชิราลงกรณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนวชิราลงกรณ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2510ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น เขื่อนแม่กลอง เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบันเขื่อนแม่กลองเป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สร้างขึ้นบนแม่น้ำแม่กลอง จากลำน้ำเดิมที่ไหลผ่านตำบลม่วงชุม แล้วลัดเลี้ยวออกทางซ้ายผ่านตัวเมืองท่าม่วง แล้วโค้งกลับเป็นรูปเกือกม้า ทางกรมชลประทานได้ทำการขุดลำน้ำขึ้นมาใหม่เป็นช่องลัดตรง มีความยาว 1,650 เมตร เพื่อเปลี่ยนทางเดินของน้ำให้ไหลผ่านเขื่อนจนกลายเป็นแม่น้ำแม่กลองสายปัจจุบัน เริ่มโครงการเมื่อราวปี พ.ศ. 2508 ถือเป็นเขื่อนแห่งแรกของจังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กลอง เขื่อนแม่กลองเป็นเขื่อนทดน้ำยาว 117.50 เมตร มีช่องระบายน้ำ กว้าง 12.50 เมตร จำนวน 8 ช่อง ซึ่งปิดเปิดด้วยบานระบายเหล็กโค้งสูง 7.50 เมตร มีสะพานติดตั้งเครื่องกว้านบานระบายทอดตลอดความยาวของเขื่อน และมีสะพานรถยนต์ข้าม มีความสามารถในการระบายน้ำสูงสุด 3,100 ลบ.ม./วินาที และสามารถยกน้ำได้สูงถึงระดับ 22.00 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง เขื่อนแม่กลองเป็นเขื่อนที่มีความสำคัญที่สุดในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง ครอบคลุมพื้นที่ 3 ล้านไร่ ในจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ประตูเรือสัญจรเขื่อนแม่กลองมีประตูเรือสัญจรสร้างไว้ในช่องลัดติดกับตัวเขื่อนด้านขวา มีช่องสำหรับให้เรือแพสัญจรเข้า-ออก หนึ่งช่องกว้าง 12.50 เมตร มีอ่างสำหรับจอดพักเรือกว้าง 26.50 เมตร ยาว 217.00 เมตร มีสะพานหกต่อจากสะพานของเขื่อนข้ามประตูเรือสัญจร ทางด้านเหนือน้ำ มีเสารอคอนกรีตยื่นออกไป 100 เมตร เพื่อกันมิให้เรือแพถูกกระแสน้ำดูดเข้าไปในช่องระบายน้ำของตัวเขื่อนคลองเชื่อมเขื่อนแม่กลองมีคลองเชื่อมตั้งต้นจากช่องลัดเหนือเขื่อน มีประตูแบ่งน้ำเพื่อส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลองคลองสายใหญ่ฝั่งซ้าย ( 1 ซ้าย 2 ซ้าย )สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกได้ถึง 6 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาครคลองสายใหญ่ฝั่งขวา (1 ขวา 2 ขวา )สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกในจังหวัดกาญจนบุรี (ท่ามะกา) ราชบุรี และเพชรบุรีประโยชน์หลักของเขื่อนแม่กลอง คือเพื่อการชลประทาน ให้น้ำแก่เกษตรกรสองฝั่งแม่น้ำ ทั้งในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี จนถึงนครปฐม และยังใช้เพื่อป้องกันน้ำท่วม ช่วยไล่น้ำทะเลหนุนจากปากแม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดสมุทรสงครามอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง] บริเวณตอนบนยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดมากมายหลากหลายพันธุ์ โดยมีสถานีเพาะพันธุ์ปลาอยู่ในบริเวณใกล้ตัวเขื่อนเพื่อช่วยเพาะพันธุ์และส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงปลาเศรษฐกิจเขื่อนแม่กลอง รับน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ การระบายน้ำจากเขื่อนทั้ง 2 เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกิจกรรมการใช้น้ำแบ่งเป็น 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้1. เพื่อการเกษตรฤดูฝน และฤดูแล้ง ในเขตชลประทานลุ่มน้ำแม่กลอง ได้แก่ พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร โดยส่งน้ำเข้าคลองส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกท้ายเขื่อน ฯ ทั้งฝั่งซ้าย และฝั่งขวาแม่น้ำแม่กลอง - พื้นที่เพาะปลูกฤดูฝนประมาณ 460,000 ไร่ ความต้องการน้ำ 1,230 ล้าน ลบ.ม. หรือ 95 ลบ.ม./วินาที ช่วงเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน- พื้นที่เพาะปลูกฤดูแล้ง ประมาณ 440,000 ไร่ ความต้องการน้ำ 1,028 ล้าน ลบ.ม. หรือ 85 ลบ.ม./วินาที ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม- พื้นที่เพาะปลูกฤดูฝนประมาณ 1,910,000 ไร่ ความต้องการน้ำ 2,397 ล้าน ลบ.ม. หรือ 185 ลบ.ม./วินาที ช่วงเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน- พื้นที่เพาะปลุกฤดูแล้ง ประมาณ 1,713,000 ไร่ ความต้องการน้ำ 2,056 ล้าน ลบ.ม. หรือ 170 ลบ.ม./วินาที ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม2. เพื่อหล่อเลี้ยงลำน้ำแม่กลอง โดยระบายน้ำจากเขื่อนแม่กลองอย่างต่ำ 70 ลบ.ม./วินาที หรือ 2,207 ล้าน ลบ.ม./ปี3. เพื่อช่วยเหลือแม่น้ำท่าจีน 1,190 ล้าน ลบ.ม./ปี โดยคลองท่าสาร-บางปลา 50 ลบ.ม./วินาที หรือ 788 ล้าน ลบ.ม./ปี โดยคลองจรเข้สามพัน 22 ลบ.ม./วินาที หรือ 402 ล้าน ลบ.ม./ปี4. เพื่อการประปานครหลวงส่งน้ำไปช่วยเหลือกรุงเทพมหานคร 45 ลบ.ม./วินาทีปัจจุบัน เขื่อนแม่กลอง มีโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ขนาด 2 เมกาวัตต์ ก่อสร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] โดยการขุดคลองส่งน้ำจากทางเหนือเขื่อนฝั่งขวาเข้าไปผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ แล้วปล่อยน้ำออกทางท้ายเขื่อนแม่กลอง

ใกล้เคียง