เซ็ชโชและคัมปากุ
เซ็ชโชและคัมปากุ

เซ็ชโชและคัมปากุ

ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เซ็ชโช (ญี่ปุ่น: 摂政 โรมาจิSesshō) เป็นยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับจักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองก่อนที่พระองค์จะเจริญพรรษาพอที่จะปกครองประเทศ เซ็ชโชจะว่าราชการแทน และ คัมปากุ (ญี่ปุ่น: 関白 โรมาจิKanpaku) เป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ทรงเจริญพระชนพรรษาแล้ว โดยอ้างว่าพระจักรพรรดิทรงไม่รู้เรื่องงานบริหารประเทศ จึงต้องให้คัมปากุ คอยช่วยบริหารจัดการ ตลอดสมัยเฮอัง อำนาจการบริหารประเทศอยู่ในสองตำแหน่งนี้ คือ เซ็ชโช และคัมปากุตลอด 500 ปี ผูกขาดโดยคนของตระกูลฟูจิวาระ และสายย่อยของตระกูลนี้ตลอด โดยเราจะเรียกตระกูลเหล่านี้ว่าเซ็กกัง หรือตระกูลผู้สำเร็จราชการนั่นเอง ภายหลังจากสมัยเฮอังอำนาจอยู่ในมือของรัฐบาลทหาร โดยโชกุนปกครองประเทศแทน โดยผู้สำเร็จราชการของโชกุนจะเรียกว่า ชิกเก็ง (ญี่ปุ่น: 執権 โรมาจิShikken ทับศัพท์ชิกเก็ง)

ใกล้เคียง