เทศน์
เทศน์

เทศน์

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

สถานีย่อย
ประวัติศาสนาพุทธพระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์เทศน์ แปลว่า การแสดง การชี้แจง การชี้ให้เห็นแจ้ง ใช้ว่า เทศนา (อ่านว่า เท-สะ-นา หรือ เทด-สะ-หนา) ก็ได้เทศน์ หมายถึงการถ่ายทอดธรรมอันเป็นคำสั่งสอนทางศาสนาด้วยการแสดงชี้แจงให้ฟัง เป็นการเผยแผ่ศาสนาแบบหนึ่งที่ใช้กันมาแต่สมัยพุทธกาล การเทศน์ในสมัยพุทธกาลไม่มีพิธีการแต่อย่างใด เพียงผู้แสดงนั่งอยู่ในสถานที่สมควรและผู้ฟังมีลักษณะตั้งใจฟังก็สามารถแสดงได้ ในขณะที่การเทศนานั้น อาจมีลักษณะลีลาต่างกันไปบ้างตามแต่อุปนิสัยของแต่ละบุคคล สำหรับพระพุทธเจ้าแล้วบางครั้งจะทรงใช้คาถาประพันธ์หรือร้อยแก้วธรรมดาในประเทศไทย การเทศน์กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวไทยมาช้านาน เช่น วันขึ้นบ้านใหม่ วันแต่งงาน ไปจนถึงงานศพ และมีข้อปลีกย่อยในการประกอบพิธีกรรมมากมาย เช่น ต้องมีการอาราธนาศีลอาราธนาธรรม การจุดเทียนส่องธรรม เป็นต้น พระสงฆ์ไทยแต่โบราณก็มีการดัดแปลงโดยเพิ่มทำนองให้น่าสนใจ เรียกว่า เทศน์แหล่ ปัจจุบันอาจแบ่งการเทศน์พิธีกรรมของพระสงฆ์ในประเทศไทยตามจำนวนผู้เทศน์ได้เป็น เทศเดี่ยว (เทศน์รูปเดียว) และเทศน์สองธรรมมาสน์ขึ้นไป (ปุจฉา-วิสัชนา)คำว่า เทศน์ หรือการเทศน์แบบพิธีการ ในความรู้สึกส่วนใหญ่ของคนไทยมักจะเข้าใจว่าเป็นพิธีกรรมการสอนที่เป็นทางการ เน้นพิธีการ และมีรูปแบบตายตัวที่ผู้เทศน์ไม่สามารถใช้ลูกเล่นหรือใช้อุปกรณ์ เช่น ภาพหรือสื่อประสมมาใช้เพื่อประกอบการเทศน์ได้ ทำให้ในปัจจุบันพระสงฆ์ได้มีปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์ด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเทศน์ในพิธีการโดยไม่ใช้สำนวนโบราณ การสอนธรรมะผ่านสื่อต่าง ๆ การแต่งหนังสือ การแต่งเพลงธรรมะ เป็นต้น ซึ่งการเทศน์ด้วยวิธีหลังจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ทำนองแบบเทศน์พิธีการ และอาจมีมุกสอดแทรกลงไปทำให้น่าสนใจมากขึ้น