เปาโลอัครทูต
เปาโลอัครทูต

เปาโลอัครทูต

นักบุญเปาโลอัครทูต (อังกฤษ: St. Paul the Apostle) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (อังกฤษ: St. Paul of Tarsus; อิตาลี: San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” [1]เป็น “อัครทูตถึงชนต่างชาติ”[2] (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just) [3], เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่น ๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขน[4]ตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไป ดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม์[5] นักบุญเปาโลกล่าวว่าท่านมิได้รับพระวจนะจากมนุษย์แต่ได้รับจากพระเยซูโดยตรง[6]กล่าวกันว่าพันธสัญญาใหม่สิบสี่บทหรือที่เรียกว่าจดหมายของนักบุญเปาโล เขียนโดยท่านเอง แต่ใครเป็นผู้เขียนจริงก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ นักบุญเปาโลมักจะบอกให้ช่างเขียน (amanuensis) เขียน นาน ๆ จึงเขียนด้วยตนเอง[7][8] การรับรองว่าข้อเขียนเป็นของแท้ ผู้เขียนจดหมาย[9] มักจะใช้ย่อหน้าที่แสดงให้เห็นว่าเป็นลายมือของนักบุญเปาโลเอง จดหมายเหล่านี้ใช้เผยแพร่ในชุมชนผู้นับถือคริสต์ศาสนา จดหมายของนักบุญเปาโลเป็นเอกสารที่สำคัญในพันธสัญญาใหม่ และในที่สุดก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายศาสนจักร จดหมายของนักบุญเปาโลเชื่อกันว่าเป็นเอกสารฉบับแรกที่สุดของพันธสัญญาใหม่ปรัชญาความคิดเห็นของนักบุญเปาโลกี่ยวกับศาสนาคริสต์เป็นความคิดเห็นที่สำคัญกว่าความคิดอื่นใดของผู้มีส่วนเขียนพันธสัญญาใหม่[10] อิทธิพลความคิดเห็นของนักบุญเปาโลอาจจะเห็นได้จากปรัชญาของนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโปไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างนักเทววิทยาก็อตสชอลค (Gottschalk) และฮิงมาร์แห่งรีมส์ (Hincmar of Reims) หรือ ระหว่าง ลัทธิทอมัสของนักบุญโทมัส อควีนาส กับลัทธิโมลินา (Molinism) ของลุยส์ โมลินา (Luis Molina) เป็นต้น