เพลงเพื่อชีวิต

เพลงเพื่อชีวิต แต่แรกเริ่มหมายถึงเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงชีวิตของคน โดยเฉพาะคนชนชั้นล่าง กล่าวถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิต การถูกเอารัดเอาเปรียบ เพลงในแนวเพื่อชีวิตในยุคนี้โดยมากจะเป็นเพลงลูกทุ่ง เช่น เพลง กลิ่นโคนสาบควาย ของคำรณ สัมบุญณานนท์, จักรยานคนจน ของยอดรัก สลักใจ, น้ำมันแพง ของสรวง สันติ, น้ำตาอีสาน แต่งโดยชลธี ธารทอง และขับร้องโดยสายัณห์ สัญญา เป็นต้นเพลงเพื่อชีวิตในประเทศไทยเริ่มเฟื่องฟูเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยแพร่หลายช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเนื้อหาของเพลงไม่จำกัดเฉพาะชีวิตของคนชั้นล่างอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยและการเหน็บแนมการเมืองอีกด้วย[1] และแนวดนตรีได้เปิดกว้างขึ้นเป็นแนวอคูสสติกหรือร็อก โดยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปินต่างประเทศ เช่น บ็อบ ดิลลัน, บ็อบ มาร์เลย์, นีล ยัง, ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล เป็นต้น เทียบได้กับ Protest song โปรเทสต์ซอง ของสหรัฐอเมริกา โดยคำว่า "เพลงเพื่อชีวิต" นั้น มาจากคำว่าศิลปะเพื่อชีวิต หรือวรรณกรรมเพื่อชีวิต ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ว่าถึงชีวิตและการต่อสู้ของมนุษย์ในสังคม ในยุคนี้เพลงเพื่อชีวิตเฟื่องฟูมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น "เพชรเม็ดงามของวรรณกรรมเพื่อชีวิต"[2]เพลงเพื่อชีวิตมักจะรวมเอาองค์ประกอบของดนตรีตะวันตกเหมือนกันเช่นเพลงบัลลาด และเพิ่มเป็นจังหวะของดนตรีไทยเซ่น สามช่า หมอลำ และลูกทุ่ง และมีองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิกไทยบ้างเช่นกัน เพลงเพื่อชีวิตในยุคแรกจะเป็นดนตรีโฟล์กตะวันตกพร้อมกับการใช้เครื่องดนตรีอคูสติก ซึ่งต่อมาได้เพิ่มดนตรีร็อกพร้อมกับกีตาร์ไฟฟ้า เบส และกลองชุด บางศิลปินยังได้รับอิทธิพลของเร้กเก้ สกา และเพลงละตินบ้างและบางศิลปินยังใช้เครื่องดนตรีไทยเซ่น พิณ ขลุ่ย และซออู้โดยวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาราวาน, แฮมเมอร์, โคมฉาย เป็นต้น ความนิยมในเพลงเพื่อชีวิตไม่ได้เป็นเพียงกระแสในห้วงเวลานั้น หากแต่ยังได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดนตรีและนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น คาราบาว, พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, อินโดจีน (วงดนตรีไทย)|อินโดจีน, คนด่านเกวียน, มาลีฮวนน่า, โฮป, ซูซู, ตีฆอลาซู เป็นต้น อีกทั้งยังมีศิลปินบางคนหรือบางกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเพื่อชีวิตอย่างเต็มตัว แต่เนื้อหาของเพลงหลายเพลงมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับเพื่อชีวิตหรือจัดให้อยู่ประเภทเพื่อชีวิตได้ เช่น จรัล มโนเพ็ชร, เสกสรร ทองวัฒนา, ธนพล อินทฤทธิ์, หนู มิเตอร์, นิค นิรนาม, พลพล พลกองเส็ง, กะท้อน, ศุ บุญเลี้ยง, สิบล้อ เป็นต้น

เพลงเพื่อชีวิต

เครื่องบรรเลงสามัญ เสียงร้อง, กีตาร์เบส, กีตาร์, กลองชุด เครื่องดนตรีอื่น ๆ ได้แก่ คีย์บอร์ด, ฮาร์โมนิก้า, เพอร์คัชชัน, ไวโอลิน, เปียโน, เครื่องดนตรีไทย
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม ประเทศไทย (หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ ดนตรีโฟล์กตะวันตก, ร็อก, เพลงลูกทุ่ง, ดนตรีพื้นเมืองไทย, คันทรี

แหล่งที่มา

WikiPedia: เพลงเพื่อชีวิต http://www.14tula.com/before_index.htm http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=easywander... http://www.forlifethailand.com/index.php?option=co... http://books.google.com/books?id=QzX8THIgRjUC&pg=P... http://www.kongkapan.com/webboard/index.php?topic=... http://www.kreenjairadio.com/interview/index.php?c... http://topicstock.pantip.com/chalermkrung/topicsto... http://www.positioningmag.com/content/%E0%B9%80%E0... http://www.raintreepub.com/index.php?lay=show&ac=a... http://news.sanook.com/1263632/