เมือง
เมือง

เมือง

เมือง เวียง หรือ เชียง หมายถึง ชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเจ้าปกครอง[ต้องการอ้างอิง] อังกฤษเขียนว่า (Mueang) ลาวเขียนว่า (ເມືອງ) เวียดนามเขียนว่า (Mường หรือ Mong) ไทใหญ่รัฐฉานเขียนว่า (မိူင်း หรือ mə́ŋ) ก่อนยุคสมัยใหม่ เป็นเมืองกึ่งอิสระ ที่อยู่กระจายในภูมิภาคอินโดจีน เนื้อที่หรือพื้นที่ของแต่ละเมืองจะติดกัน ซึ่งปัจจุบันนี้คือพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ตอนใต้ของประเทศจีน พื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย ลาว ตอนเหนือของพม่า บางส่วนของกัมพูชา บางส่วนของเวียดนาม ตอนใต้ของมณฑลยูนนาน พื้นที่ตะวันตกของของมณฑลกวางสี และแคว้นอัสสัมเมือง เป็น คำไทยดั้งเดิม เมืองในยุคก่อนสมัยใหม่นั้นจะมีกำแพงป้องกันข้าศึก และมีผู้ปกครอง เรียกว่า เจ้าเมือง อย่างน้อยก็เป็นเจ้าเมืองระดับ ขุน หรือพ่อขุน ซึ่งจะปกครองหมู่บ้านที่ขึ้นตรงต่อเมืองนั้นด้วย[1][2][3]รูปแบบที่เป็นศูนย์กลางขององค์กรทางการเมืองบริหารจัดการรัฐในลำดับการปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจ เช่น ผู้ปกครองเมืองขนาดเล็กจะอยู่ใต้การปกครองของผู้ปกครองเมืองใกล้กันที่มีอำนาจมากกว่าซึ่งก็จะอยู่ใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์ส่วนกลางหรือผู้นำอื่นๆ เมืองที่มีอำนาจกว่านั้น (ที่รู้กันโดยทั่วไป คือ เชียง หรือ เวียง หรือ นคร หรือ กรุง เช่น กรุงเทพ มหานคร ) บางยุคบางสมัยเจ้าเมืองลูกหลวงพยายามประกาศอิสรภาพจากเจ้าเมืองที่ตนเป็นเมืองขึ้น และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ชื่นบานในการเป็นอิสระแบบเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ทั้งเมืองขนาดใหญ่และเมืองขนาดเล็กมักจะยกระดับความจงรักภักดี และส่งส่วยให้แก่มากกว่าหนึ่งแก่ผู้ครองเมืองที่อยู่ใกล้เคียง แต่ยังส่งให้แก่จักรวรรดิจีนซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้นเป็นประจำ ซึ่งเป็นช่วงยุคต้นของราชวงศ์หมิงของจีนต่อมา ฮ่องเต้ กุบไล ข่าน เอาชนะราชอาณาจักรไบ แห่งต้าหลี่ ปี ค.ศ. 1253 เมืองใหม่ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างมากมายทั่วรัฐฉาน และพื้นที่ที่อยู่ติดกัน แม้มีการโต้แย้งโดยใช้คำอธิบายทั่วไปของเหตุการณ์นี้ว่า เป็นการอพยพโยกย้าย[4]จึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อทางการจีนที่ตามมา ในการจัดเรียงลำดับชนชั้นปกครองที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เป็นระบบเลือกผู้นำที่มาจากท้องถิ่น ผู้นำชนเผ่าหลักในมณฑลยูนนานได้รับการยอมรับโดยราชวงศ์หยวนให้เป็นเจ้าหน้าที่(ข้าหลวง)ของฮ่องเต้ ต่อมา ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ได้เปลี่ยนจากระบบเลือกผู้นำที่มาจากท้องถิ่น มาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนที่ไม่ใช่ชนพื้นเมือง ต่อมาในคริตศตวรรษที่ ๑๙ ราชวงศ์จักรีของไทยและผู้นำทางทหารของพม่าสำหรับเมืองขึ้นของพม่าก็ทำตามแบบนั้นบ้างในเมืองน้อยๆของพวกเขา ในขณะที่อาณาจักรเล็กๆหายไป แต่ชื่อสถานที่ยังคงอยู่