เลนินกราด

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (รัสเซีย: Санкт-Петербург, อักษรโรมัน: Sankt-Peterburg, [ˈsankt pʲɪtʲɪrˈburk]) หรือชื่อเดิม เปโตรกราด (Петроград) (ค.ศ. 1914–1924), เลนินกราด (Ленинград) (ค.ศ. 1924–1991) เป็นนครที่ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเนวาริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก และเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของประเทศรัสเซียรองจากมอสโก โดยมีประชากรมากกว่า 5.3 ล้านคน[8] เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สี่ของทวีปยุโรป เป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดในแถบทะเลบอลติก และเป็นมหานครที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของทวีปยุโรปและโลก[9] ในฐานะที่เป็นเมืองท่าสำคัญริมทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจึงมีฐานะเป็นนครสหพันธ์นครก่อตั้งขึ้นโดยซาร์ปีเตอร์มหาราชเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม [ตามปฎิทินเก่า: 16 พฤษภาคม] ค.ศ. 1703 บนที่ตั้งของประภาคารของสวีเดนเดิม นครทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซาร์รัสเซียและจักรวรรดิรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1713–1918 (ย้ายไปมอสโกในช่วง ค.ศ. 1728–1730) หลังจากการปฏิวัติเดือนตุลาคม บอลเชวิคได้ย้ายรัฐบาลของพวกเขาไปที่มอสโก[10]ในยุคร่วมสมัย เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กถือเป็นเมืองหลวงของภาคเหนือ และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานสหพันธ์บางแห่ง เช่น ศาลรัฐธรรมนูญรัสเซียและสภาโฆษกประจำประธานาธิบดีรัสเซีย นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของหอสมุดแห่งชาติรัสเซีย และมีแผนจัดตั้งศาลฎีกาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและกลุ่มโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องได้รับเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ในฐานะที่สื่อถึงการเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของประเทศ[11] เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กยังเป็นที่ตั้งของแอร์มิทาช หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก[12] และศูนย์ลัคตา ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป[13][14] สถานกงศุลระหว่างประเทศ บริษัทนานาชาติ ธนาคาร และสถานประกอบธุรกิจหลายแห่ง ก็มีที่ตั้งในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กด้วยเช่นกัน

เลนินกราด

• ประมาณ (2018)[6] 5,351,935
เว็บไซต์ http://gov.spb.ru
สถาปนา 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1703 (1703-05-27)[3]
ประเทศ รัสเซีย
• หน่วยงาน สภานิติบัญญัติ
รหัส OKTMO 40000000
รหัสไอเอสโอ 3166 RU-SPE
เขตสหพันธ์ ตะวันตกเฉียงเหนือ[1]
• ผู้ว่าราชการ Alexander Beglov (UR)[4]
ทะเบียนรถ 78, 98, 178, 198
• ทั้งหมด 1,439 ตร.กม. (556 ตร.ไมล์)
เขตเศรษฐกิจ ตะวันตกเฉียงเหนือ[2]
เขตเวลา UTC+3 (เวลามอสโก [7])
อันดับพื้นที่ อันดับที่ 82