เลือกที่จะไม่เลือก
เลือกที่จะไม่เลือก

เลือกที่จะไม่เลือก

เลือกที่จะไม่เลือก หรือชื่อในการประชาสัมพันธ์ว่า vote no vote เป็นการรณรงค์ให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิโดยไม่เลือกผู้ใดเป็นตัวแทน (กากากบาทในช่อง "ไม่ออกคะแนนเสียง") เพื่อส่งสัญญาณให้พรรคการเมืองและนักการเมือง พิถีพิถันในการเสนอบุคคลและนโยบายมากขึ้น นับเป็นปฏิบัติการทางการเมืองของภาคประชาชน เพื่อเพิ่มอำนาจของประชาชนในการเลือกตั้งและทางการเมือง[ต้องการอ้างอิง]การรณรงค์เลือกที่จะไม่เลือกสำหรับการเลือกตั้งในประเทศไทยนั้น มีหลักฐานว่าเริ่มมาอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2543[ต้องการอ้างอิง] แต่การเลือกตั้งครั้งที่คะแนนเสียงไม่เลือกมีผลอย่างชัดเจนนั้น คือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งในหลายเขตเลือกตั้ง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ (ประเทศไทย คะแนน "ไม่เลือก" มีสูงกว่าคะแนนของผู้สมัครที่ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่ง ก่อให้เกิดคำถามถึงความชอบธรรมและความสง่างามของตำแหน่งผู้แทนราษฎร[ต้องการอ้างอิง] และในเขตที่มีผู้สมัครรายเดียวบางเขต คะแนน "ไม่เลือก" ก็ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากผู้สมัครรายเดียวนั้น ได้คะแนนไม่ถึง 20% ของผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด ตามกำหนดของกฎหมายเลือกตั้ง

ใกล้เคียง

เลือกที่จะไม่เลือก เลือกตั้ง 2550 เลือกตั้ง ส.ก. 2565 เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 เลือกตั้งซ่อมราชบุรี เขต 3 พ.ศ. 2565 เลือกตั้งฝรั่งเศส เลือกตั้ง เลือกตั้งล่วงหน้า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562