เสือโคร่งไซบีเรีย
เสือโคร่งไซบีเรีย

เสือโคร่งไซบีเรีย

เสือโคร่งไซบีเรีย หรือ เสือโคร่งอามูร์ หรือ เสือโคร่งจีนเหนือ หรือ เสือโคร่งแมนจูเรีย (อังกฤษ: Siberian tiger จีนตัวเต็ม: 东北虎; จีนตัวย่อ: 東北虎; รัสเซีย: Амурский тигр; มองโกล: Сибирийн бар; เปอร์เซีย: ببر سیبری; เกาหลี: 시베리아호랑이; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera tigris altaica) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือชนิดหนึ่ง เป็นสายพันธุ์ย่อยของเสือโคร่ง ( P. tigris) เป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังหลงเหลือเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบันเสือโคร่งไซบีเรีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึงเกือบ 3 เมตร และหนักได้ถึงเกือบ 300 กิโลกรัม เป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเสือโคร่งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด ใบหน้าแผ่กว้าง กรามใหญ่ ลวดลายน้อย และพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองออกขาวมากกว่าเสือโคร่งชนิดอื่น ๆ สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะการปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่มีหิมะและความหนาวเย็นอยู่รอบตัวในอดีต เสือโคร่งไซบีเรียเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่กว้างขวางของทวีปเอเชีย แต่ในปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรียมีแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นป่าผืนเล็กที่อยู่ตอนเหนือของเมืองวลาดิวอสตอค ประเทศรัสเซีย ตามแนวชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นทางตอนเหนือ และมีจำนวนเพียง 400 ตัว การทำเหมืองแร่และการทำไม้ในแถบไซบีเรียตะวันออกซึ่งเป็นถิ่นของเสือโคร่งไซบีเรีย ที่ประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1990 มีการพบเห็นเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียในเทือกเขาฉางไป๋ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ในประเทศเกาหลีเหนือ สันนิษฐานว่ายังมีเสือโคร่งไซบีเรียหลงเหลืออยู่บริเวณภูเขาเปกดู ซึ่งเป็นบริเวณพรมแดนที่ติดต่อเทือกเขาฉางไป๋ของจีน ปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรีย พบอาศัยอยู่ในป่าไทก้าของไซบีเรีย คาดมีเหลืออยู่ในธรรมชาติราวกว่า 200 ตัว ส่วนในจีนคาดว่ามีประมาณ 14-17 ตัว โดยพบล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ในป่าของเขตศูนย์อนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติ มณฑลจี๋หลิน คาดว่าเป็นเสือตัวผู้อายุราว 2 ปี ถูกจับภาพได้โดยทางกล้องวงจรปิด[1]ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2007 มีรายงานว่า เสือโคร่งไซบีเรียวัย 12 ปี จำนวน 4 ตัว ในสวนสัตว์ปิงชวนปาร์ค ในเมืองเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน รุมกินซากของเสือโคร่งไซบีเรียตัวหนึ่ง ที่อยู่ด้วยกันมานาน 5 ปี ซึ่งเป็นพฤติกรรมปกติที่เสืออาจกินซากพวกเดียวกันเอง แต่ไม่มีใครทราบว่าเสือตัวที่ตายนี้ ตายมาก่อนหน้านั้น หรือตายเพราะถูกเพื่อนเสือในกรงเดียวกันรุมฆ่า [2][3]ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการสำรวจพบว่า เสือโคร่งไซบีเรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 480-540 ตัว โดยรวมจำนวนลูกเสือโคร่งแต่ละปีด้วย[4]