เหตุการณ์บุกยึดสถานทูตพม่า ของ เหตุการณ์ก๊อด'ส_อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม่า_พ.ศ._2542_และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี_พ.ศ._2543

เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เวลา 11.45 น. จู่ ๆ กลุ่มนักศึกษาพม่า จำนวน 12 คน พร้อมอาวุธปืนและระเบิด บุกเข้าไปในสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ที่ถนนสาทร จับเจ้าหน้าที่สถานทูตและประชาชนที่เข้าไปติดต่อราชการเป็นตัวประกัน ไว้ได้ราว 20 คน จากนั้นก็ชักธงชาติพม่าและชักธงของพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย (Nationality League for Democracy) ขึ้นไปแทน

ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนักศึกษาพม่าคนอื่น ๆ ที่อยู่บริเวณเดียวกันมาสอบสวน ควบคู่ไปกับการเจรจาปล่อยตัวประกัน ทำให้ทราบว่า หัวหน้าผู้ก่อการครั้งนี้ ชื่อ นายจอห์นนี่ ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลทหารพม่าให้ปล่อยตัว นางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน ให้กลับไปทำหน้าที่หลังได้รับการเลือกตั้งหลายถล่มทลายในปี พ.ศ. 2533 ทางฝ่ายรัฐบาลไทย พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เดินทางมาสั่งการและเปิดศูนย์อำนวยการขึ้นที่อาคารไบเออร์ ที่อยู่ติดกับสถานทูต

ระหว่างนี้ การเจรจาไม่ได้ผล แต่ตัวประกันสามารถทยอยหนีออกมาได้เรื่อย ๆ หลังสถานทูต จนเหลือเพียง 5 คน

จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. นายจอห์นนี่ได้ต่อรองขอเฮลิคอปเตอร์ให้ไปส่งตนและพรรคพวกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่จังหวัดราชบุรี ทางรัฐบาลไทยได้ตอบรับ โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ เสนอตัวเป็นตัวประกันนั่งโดยสารไปด้วยเพื่อรับรองความปลอดภัยจนกระทั่งถึงที่หมาย ซึ่งระหว่างตอนที่รถของนักศึกษาและรถของเจ้าหน้าที่ไทยออกจากสถานทูต ได้มีการปิดถนนสาทรและมีการรายงานสดจากที่เกิดเหตุของบรรดาสื่อมวลชนช่องต่าง ๆ

ในที่สุด เมื่อผ่านไป 25 ชั่วโมงนับจากเกิดเหตุ เหตุการณ์ก็จบลงอย่างสงบ

หลังจากนั้น สื่อมวลชนได้ต่างพากันเสนอแนะและวิพากษ์วิจารณ์ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้อย่างกว้างขวาง ทำให้ทราบว่า กองกำลังก๊อด'ส อาร์มี่ นี้ มีผู้นำเป็นเด็กผู้ชายฝาแฝดอายุเพียง 12 ขวบ ชื่อ ลูเธอร์ กับ จอห์นนี่ ทู เป็นเด็กแฝดที่มีลิ้นสีดำ ซึ่งเป็นผู้มีบุญตามคติความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงและชาวพม่า และที่พำนักของนักศึกษาพม่าในประเทศไทย มีศูนย์ใหญ่ที่สุด ชื่อ ศูนย์มณีลอย ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีนักศึกษาที่หลบหนีจากเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่ามาพำนักยังศูนย์นี้จำนวนมาก ซึ่งทางรัฐบาลจะต้องให้ความดูแลและรอบคอบทางด้านความปลอดภัยมากกว่านี้

ใกล้เคียง

เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน เหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 เหตุการณ์ทุจริตการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2544 เหตุการณ์โกก้าง