แรงงานเกณฑ์

แรงงานเกณฑ์ (ฝรั่งเศส: corvée) เป็นแรงงานไม่เสรี มักไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีฐานะทางสังคมต่ำ และรัฐหรือผู้ที่เหนือกว่า (เช่น ชนชั้นสูงหรือขุนนาง) การเกณฑ์แรงงานเป็นการเก็บภาษีอากรรูปแบบเก่าแก่ที่สุดและแพร่หลายที่สุด สืบย้อนไปได้ถึงกำเนิดอารยธรรม การเกณฑ์แรงงานเป็นการใช้แรงงานบังคับที่กำหนดโดยรัฐต่อชาวนาที่ยากจนกว่าจะจ่ายภาษีรูปแบบอื่น[1] แต่บางครั้งบุคคลที่มีทรัพยากรเงินก็ยังถูกเกณฑ์อยู่ดีแรงงานในระบบแรงงานเกณฑ์ยังมีอิสระโดยสมบูรณ์ในหลายด้าน นอกเหนือจากการใช้แรงงานของตน และงานนั้นมีเว้นระยะโดยปกติ ซึ่งมีกำหนดเป็นจำนวนวันหรือเดือนที่แน่นอนในแต่ละปี แรงงานเกณฑ์เป็นแรงงานไม่สรีที่กรรมกรไม่ได้รับการชดเชยหรือได้รับการชดเชยไม่เต็มที่ ระบบแรงงานเกณฑ์ไม่จำเป็นต้องอาศัยประชากรที่มีที่ดิน พืชผลหรือเงิน ฉะนั้น แรงงานเกณฑ์จึงมักเป็นที่นิยมในเศรษฐกิจที่ขาดแคลนเงิน กอร์เวแรงงานเกณฑ์ยังพบมากในเศรษฐกิจที่การแลกเปลี่ยนยังเป็นวิธีการค้าเป็นปกติ หรือในเศรษฐกิจยังชีพคำนี้ใช้อ้างอิงถึงยุโรปยุคกลางหรือยุคใหม่ตอนต้น ที่ซึ่งเจ้าเรียกร้องจากข้า หรือพระมหากษัตริย์ทรงเรียกร้องจากคนในบังคับ อย่างไรก็ดี การใช้คำนี้ไม่จำกัดเฉพาะเวลาหรือสถานที่นั้น การปฏิบัติมีแพร่หลาย ตั้งแต่อียิปต์ โรม จีนและญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อารยธรรมอินคา ฯลฯ รวมถึงประเทศไทยในอดีตด้วย