แอลัน_ทัวริง
แอลัน_ทัวริง

แอลัน_ทัวริง

แอลัน แมธิสัน ทัวริง (อังกฤษ: Alan Mathison Turing; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยาและวีรบุรุษสงครามชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุขั้นตอนวิธีและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุก ๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทัวริงมีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องเอนิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือหลังจากสงครามเขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรกๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริง ๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รางวัลทัวริงถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อยกย่องเขาในเรื่องนี้นอกจากนั้นแล้ว การทดสอบของทัวริงที่เขาได้เสนอนั้นมีผลอย่างสูงต่อการศึกษาเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งในขณะมีถกเถียงที่สำคัญว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกล่าวว่าเครื่องจักรนั้นมีสำนึกและสามารถคิดได้

แอลัน_ทัวริง

ศิษย์เก่า
สถาบันที่ทำงาน
งานที่เป็นที่รู้จัก
เกิด 23 มิถุนายน ค.ศ. 1912(1912-06-23)
Maida Vale, เมืองลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก Robin Gandy[2][3]
รางวัลที่ได้รับ Smith's Prize (1936)
ถิ่นที่อยู่ Wilmslow ชีไชร์ ประเทศอังกฤษ
มีอิทธิพลต่อ Max Newman[4]
เสียชีวิต 7 มิถุนายน ค.ศ. 1954 (41 ปี)
Wilmslow ชีไชร์ ประเทศอังกฤษ
การเป็นพิษจากไซยาไนด์
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก อลอนโซ เชิร์ช[2]
สาขา