โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ต

โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ต เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สามารถเข้าถึงได้ผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ แนวคิดที่จะสร้างสารานุกรมเสรีโดยการใช้อินเทอร์เน็ตมีตั้งแต่ข้อเสนออินเตอร์พีเดียในปี พ.ศ. 2536 อันเป็นโครงการสารานุกรมบนอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนสามารถให้การสนับสนุนเนื้อหาได้ แต่โครงการนั้นไม่เคยพ้นขั้นตอนวางแผนและถูกไล่ตามทันโดยการปะทุของเวิลด์ไวด์เว็บ การถือกำเนิดของเสิร์ชเอนจินคุณภาพสูง และการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่มีอยู่เดิมการแปลงเนื้อหาเก่าเป็นดิจิทัล โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ตเป็นการแบ่งสาขาที่สำคัญของสารานุกรมตีพิมพ์แบบเก่า ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2538 โครงการกูเทนแบร์กเริ่มตีพิมพ์ข้อความแอสกีของสารานุกรมบริตานิกาฉบับพิมพ์ครั้งที่สิบเอ็ด (พ.ศ. 2454) แต่ความไม่ลงรอยเกี่ยวกับวิธีการทำให้งานดังกล่าวหยุดชะงักไปหลังจากฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก ด้วยเหตุผลด้านเครื่องหมายการค้า ทำให้โครงการใช้ชื่อว่า สารานุกรมกูเทนแบร์ก ในปี พ.ศ. 2545 ข้อความแอสกีและดนตรี 48 เสียงได้รับการเผยแพร่บน http://1911encyclopedia.org โครงการกูเทนแบร์กเริ่มงานการแปลงเนื้อหาเป็นดิจิทัลใหม่และพิสูจน์อักษรสารานุกรมนี้ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ก็ยังไม่ได้มีการเผยแพร่ ในขณะเดียวกัน สารานุกรมบริตานิกาซึ่งเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งอย่างเช่น เอ็นคาร์ตา ทำให้บริตานิกาเองต้องแปลงเนื้อหาเป็นดิจิทัลโดยผู้ผลิตเช่นกัน และมีการวางขายเป็นนเจ้าแรก และบริการออนไลน์ในเวลาต่อมา เป็นไปได้ว่าโครงการแปลงเนื้อหาสารานุกรมเป็นดิจิทัลที่สำคัญที่สุดและประสบความสำเร็จที่สุดคือ โครงการบาร์เทิลบี ซึ่งเป็นรุ่นออนไลน์ของตีพิมพ์ครั้งที่สิบ http://www.bartleby.com/65/ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2543 และมีการอัปเดตเป็นครั้งคราว

ใกล้เคียง

โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท โครงการอวกาศโซเวียต โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการแมนแฮตตัน โครงการชุมชนพอเพียง โครงการโฮปเวลล์ โครงกระดูกมนุษย์ โครงการหลวง โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี