โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง
โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง

โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง

โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า โรค LPR[1](อังกฤษ: laryngopharyngeal reflux, LPR) หรือ โรคกรดไหลย้อนออกนอกหลอดอาหาร (อังกฤษ: extraesophageal reflux disease, EERD)[2] หรือ กรดไหลย้อนเงียบ (อังกฤษ: silent reflux)[3]หรือ กรดไหลย้อนออกเหนือหลอดอาหาร (อังกฤษ: supra-esophageal reflux)[4]เป็นการไหลย้อนของน้ำกรดน้ำย่อยของกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองขึ้นไปถึงกล่องเสียงและคอหอยโดยไปกระทบกับทางเดินอาหาร-ลมหายใจส่วนบน[1][5]ซึ่งเป็นเหตุของอาการต่าง ๆ เช่น ไอและหายใจเสียงหวีด[6]โดยบ่อยครั้งสัมพันธ์กับปัญหาอื่น ๆ ที่ศีรษะและคอ เช่น ออกเสียงลำบาก เหมือนมีก้อนในลำคอ กลืนลำบาก[7]โรคอาจมีบทบาทในความผิดปกติอื่น ๆ รวมทั้งโพรงอากาศอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ, เยื่อจมูกอักเสบ[7],กล่องเสียงอักเสบเหตุกรดไหลย้อน, ช่องหว่างสายเสียงตีบ, มะเร็งกล่องเสียง, แกรนูโลมากล่องเสียง, แผลเปื่อยกล่องเสียง, ปุ่มที่สายเสียง[5],กล่องเสียงกระตุก, การหยุดหายใจขณะหลับเหตุอุดกั้น (OSA), โรคหลอดลมพอง, และเยื่อจมูกและโพรงอากาศอักเสบ[8]โรคอาจเกิดร่วมกับโรคหืด[6]ปัจจัยเสี่ยงของโรครวมทั้งเป็นโรคกรดไหลย้อนในหลอดอาหารแบบเรื้อรังหรือแบบมีแผล (ERD), มีเยื่อบุผิวเสี่ยงมะเร็งในหลอดอาหารแบบ Barrett's esophagus, กระเพาะอาหารเลื่อนผ่านกะบังลม (hiatus hernia), โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การหยุดหายใจขณะหลับเหตุอุดกั้น (OSA), โรคอ้วน, การสูบบุหรี่, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้น[9]อาการเหนือหลอดอาหารมาจากทางเดินลมหายใจ-ทางเดินอาหารส่วนบนซึ่งถูกกับสิ่งที่ไหลย้อนมาจากกระเพาะอาหาร หรือเป็นการตอบสนองทางรีเฟล็กซ์เนื่องกับเส้นประสาทเวกัสที่จุดชนวนโดยกรดที่ถูกหลอดอาหาร[10]โดยสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารสามารถไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหารได้อาจเป็นเพราะหูรูดหลอดอาหารด้านล่างปิดได้ไม่ดี คือคลายตัวบ่อยเกิน บวกกับหูรูดหลอดอาหารด้านบนและหลอดอาหารที่บีบตัวอย่างบกพร่อง[11]คนไข้โรคนี้อาจต้องทุกข์ทรมานอยู่กับโรคนานเพราะวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากอาการต่าง ๆ ของโรคอาจมีสมุฏฐานอื่น ๆ รวมทั้งการติดเชื้อ การใช้เสียงเกิน ภูมิแพ้ การสูบบุหรี่ การสูดสิ่งที่ทำให้ระคายเคือง การดื่มสุราจัด และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ไม่ใช่โรค[5]นอกจากการสอบอาการแล้ว แพทย์อาจวินิจฉัยโรคโดยการลองรักษาด้วยยา การส่องกล้อง และการวัดความเป็นกรดด่างของหลอดอาหาร แต่สิ่งที่พบด้วยวิธีการตรวจเหล่านี้ บ่อยครั้งไม่ชัดเจนพอให้กำหนดได้ว่า เป็นโรคนี้หรือเป็นโรคอื่นการรักษาปกติคือให้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต การใช้ยายับยั้งการหลั่งกรด หรือบางครั้งการผ่าตัดการเปลี่ยนวิถีชีวิตอาจรวมไม่นอนในระยะ 2-3 ชม. หลังทานอาหาร, ลดน้ำหนัก, เลี่ยงอาหารบางประเภท, เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่โรครายงานว่า มีผลต่อประชากรสหรัฐและยุโรประหว่าง 7-30%[1]แพทย์หูคอจมูกตรวจคนไข้โรคนี้เพิ่มขึ้นถึง 500% ระหว่างปี 1990-2001และเกิดกับบุคคลที่ออกเสียงลำบากถึง 50%[5][12]โรคที่ไม่ได้รักษาอาจเกิดอาการเรื้อรัง เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจแย่ลง ทำให้ต้องไปหาแพทย์บ่อย ๆ ทำให้สังคมโดยรวมมีภาระค่าใช้จ่ายสูง และมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและบุคลิกภาพของคนไข้อย่างสำคัญ[1]แม้ชื่อโรคอาจใช้โดยแลกเปลี่ยนกับโรคกรดไหลย้อน (GERD) แต่ก็มีลักษณะของโรค/พยาธิสรีรวิทยา ที่ต่างกัน[13]

ใกล้เคียง

โรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อนในเด็ก โรคกรวยไตอักเสบ โรคกระเพาะ โรคกระดูกเจริญผิดปกติชนิดไม่สามารถรอดชีวิตได้ โรคกรรมพันธุ์ โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคริดสีดวงทวาร

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S1072-... http://www.hindawi.com/journals/ijoto/2012/646901/ http://www.linxforlife.com http://www.refluxgate.com/ http://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0194599817... http://women.sanook.com/health/healthcare/sick_350... http://www.stretta-therapy.com http://www.voiceinstituteofnewyork.com/silent-refl... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/nyas.13... http://content.wkhealth.com/linkback/openurl?sid=W...