โรคจิตเภท
โรคจิตเภท

โรคจิตเภท

UK also /ˌskɪdzəʔ/,บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งโรคจิตเภท[11](อังกฤษ: schizophrenia ออกเสียงว่า สคิดโซฟรีเนีย หรือ สคิดโซเฟรเนีย)เป็นความผิดปกติทางจิตที่มีอาการเป็นพฤติกรรมผิดปกติ พูดแปลก ๆ และรู้ว่าอะไรจริงอะไรไม่จริงได้น้อยลง[2]อาการอื่น ๆ รวมทั้งอาการหลงผิดคือเชื่อผิด ๆ ความผิดปกติทางความคิดคือคิดสับสนหรือไม่ชัดเจน ประสาทหลอนทางหูคือได้ยินเสียงพูดที่คนอื่นไม่ได้ยิน การลดมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การลดแสดงออกทางอารมณ์ และการไร้แรงจูงใจที่จะทำอะไรเอง[2][3]คนไข้บ่อยครั้งมีปัญหาทางสุขภาพจิตอื่น ๆ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือติดสารเสพติด (SUD)[12]อาการปกติจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเริ่มตั้งแต่ต้นวัยผู้ใหญ่และจะไม่หายในกรณีโดยมาก[3][6]เหตุของโรครวมปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและทางพันธุกรรม[5]ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมรวมการเติบโตขึ้นในเมือง การใช้กัญชาในช่วงวัยรุ่น การติดเชื้อบางอย่าง อายุของพ่อแม่ และการได้สารอาหารไม่เพียงพอเมื่ออยู่ในครรภ์[5][13]ปัจจัยทางพันธุกรรมรวมรูปแปรของยีนต่าง ๆ ทั้งแบบสามัญและไม่สามัญ[14]การวินิจฉัยโรคจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่สังเกตเห็น รายงานประสบการณ์จากตัวผู้ป่วยเองและจากคนที่คุ้นเคย[6]เมื่อจะวินิจฉัย แพทย์ต้องพิจารณาวัฒนธรรมของคนไข้ด้วย[6]จนถึงปี 2013 ยังไม่มีการตรวจสอบโรคที่เป็นปรวิสัย[6]โรคจิตเภทไม่ได้หมายถึงโรคที่ทำให้มีบุคลิกภาพเป็นหลายคน คือ dissociative identity disorder ซึ่งคนบางส่วนอาจสับสน[15]วิธีรักษาหลักก็คือยารักษาโรคจิต (antipsychotic) พร้อมกับคำแนะนำปรึกษาจากแพทย์พยาบาล (counselling) การฝึกงาน และการฟื้นฟูสภาพทางสังคม[2][5]ไม่ชัดเจนว่า ยารักษาโรคจิตตามแบบ (typical) หรือนอกแบบ (atypical) ดีกว่ากัน[16]ในคนไข้ที่ยารักษาโรคจิตอื่น ๆ ไม่ได้ผล อาจลองยา clozapine ดูได้[5]ในกรณีรุนแรงที่มีความเสี่ยงต่อตนเองหรือผู้อื่น การกักไว้ในสถานพยาบาลอาจจำเป็น แม้ปัจจุบันการอยู่ใน รพ. จะสั้นกว่าและไม่บ่อยครั้งเท่ากับในอดีต[17]คนประมาณ 0.3-0.7% จะมีโรคจิตเภทในช่วงชีวิตของตน[9]ในปี 2013 มีกรณีคนไข้ประมาณ 23.6 ล้านรายทั่วโลก[18]ผู้ชายเป็นมากกว่าและโดยเฉลี่ยเริ่มเป็นเมื่ออายุน้อยกว่า[2]คนไข้ประมาณ 20% ฟื้นสภาพได้ดี โดยจำนวนน้อยจะหายโดยสิ้นเชิง[6]ประมาณ 50% จะพิการตลอดชีวิต[19]ปัญหาทางสังคม เช่น การว่างงานระยะยาว ความยากจน การไร้ที่อยู่อาศัย เป็นเรื่องสามัญ[6][20]การคาดหมายคงชีพของคนไข้จะน้อยกว่าคนทั่วไป 10-25 ปี[8]ซึ่งเกิดจากปัญหาสุขภาพทางกายและอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น (ประมาณ 5%)[9][21]ในปี 2015 คนทั่วโลกประมาณ 17,000 คนเสียชีวิตเนื่องกับพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับหรือมีเหตุจากโรคจิตเภท[10]

โรคจิตเภท

อาการ เชื่อผิด ๆ คิดสับสน ได้ยินเสียงพูดที่คนอื่นไม่ได้ยิน[2][3]
สาขาวิชา จิตเวช
การออกเสียง
ระยะดำเนินโรค เรื้อรัง[3]
ความชุก ~0.5%[9]
สาเหตุ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม[5]
วิธีวินิจฉัย ขึ้นกับพฤติกรรมที่สังเกตเห็น ประสบการณ์จากคนไข้เองและจากคนใกล้ตัว[6]
ภาวะแทรกซ้อน ฆ่าตัวตาย โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต (lifestyle diseases)[4]
ปัจจัยเสี่ยง ประวัติในครอบครัว การใช้กัญชา ปัญหาเมื่ออยู่ในครรภ์ เติบโตขึ้นในเมือง พ่อที่มีอายุมากกว่า[5]
ยา ยารักษาโรคจิต (antipsychotic)[5]
การรักษา การรับคำแนะนำปรึกษาจากแพทย์พยาบาล การฝึกงาน[2][5]
การเสียชีวิต ~17,000 (2015)[10]
การตั้งต้น 16-30 ปี[3]
โรคอื่นที่คล้ายกัน การใช้สารเสพติด, โรคฮันติงตัน, ความผิดปกติทางอารมณ์ (คือโรคอารมณ์สองขั้ว), โรคออทิซึม[7]
พยากรณ์โรค การคาดหมายคงชีพจะน้อยลง 18-20 ปี[8][4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจิตเภท http://www.clinicalevidence.bmj.com/x/systematic-r... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11890.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic520.htm http://www.emedicine.com/med/topic2072.htm http://www.emedicine.com/med/topic3113.htm http://www.emedicine.com/med/topic3113.htm# http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=295 http://www.ijpsy.com/volumen3/num2/60/schizophreni... http://www.kluweronline.com/art.pdf?issn=1386-7423... http://pro.psychcentral.com/dsm-5-changes-schizoph...