โรคนิ่วไต
โรคนิ่วไต

โรคนิ่วไต

โรคนิ่วไต (อังกฤษ: kidney stone disease, urolithiasis) เป็นก้อนวัสดุแข็งที่เกิดในทางเดินปัสสาวะ[2]นิ่วไตปกติจะเกิดในไตแล้วออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ[2]โดยก้อนเล็ก ๆ อาจจะผ่านออกโดยไม่มีปัญหาอะไร[2]แต่ถ้าใหญ่เกินกว่า 5 มิลลิเมตรก็อาจขวางท่อไตมีผลให้เจ็บอย่างรุนแรงที่หลังหรือท้องส่วนล่าง[2][7]นิ่วยังอาจทำให้เลือดออกในปัสสาวะ ทำให้อาเจียน หรือทำให้เจ็บเมื่อถ่ายปัสสาวะ (dysuria)[2]คนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งจะเกิดนิ่วอีกภายใน 10 ปี[8]นิ่วโดยมากมีเหตุจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[2]ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งระดับแคลเซียมสูงในปัสสาวะ (hypercalciuria) โรคอ้วน อาหารบางชนิด ยาบางชนิด การทานแคลเซียมเป็นอาหารเสริม ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์เกินในเลือด (hyperparathyroidism) โรคเกาต์ และดื่มน้ำไม่พอ[2][8]นิ่วจะเกิดในไตเมื่อแร่ในปัสสาวะเข้มข้นมาก[2]การวินิจฉัยปกติจะอาศัยอาการ การตรวจปัสสาวะ และภาพฉายรังสี[2]โดยการตรวจเลือดอาจมีประโยชน์[2]นิ่วมักจะจัดกลุ่มตามตำแหน่งที่อยู่คือ nephrolithiasis (ในไต) ureterolithiasis (ในท่อไต) cystolithiasis (ในกระเพาะปัสสาวะ)หรือโดยองค์ประกอบของนิ่ว เช่น แคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate), กรดยูริก, สตรูไวท์ (struvite), ซิสทีน (cystine) เป็นต้น[2]คนไข้ที่มีนิ่วสามารถป้องกันโดยดื่มน้ำให้ผลิตปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน[4]ถ้ายังไม่พอ อาจทานยาไทอะไซด์ (thiazide), ไซเตรต (citrate, กรดไซตริก) หรืออัลโลพิวรีนอล (allopurinol)[4]คนไข้ควรเลี่ยงดื่มน้ำอัดลม (เช่น โคลา)[4]ถ้านิ่วไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา[2]ไม่เช่นนั้นแล้ว ยาแก้ปวดเป็นการรักษาเบื้องต้น โดยใช้ยาเช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) หรือโอปิออยด์[7][9]นิ่วที่ใหญ่เพิ่มขึ้นอาจขับออกได้โดยใช้ยา tamsulosin[10]หรืออาจต้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การใช้คลื่นเสียงนอกกายสลายนิ่ว (extracorporeal shock wave lithotripsy), การส่องกล้องท่อไต (ureteroscopy), หรือการผ่าตัดนิ่วผ่านผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy)[2]คนทั่วโลกประมาณ 1-15% จะมีนิ่วไตในช่วงหนึ่งของชีวิต[8]ในปี 2558 มีคนไข้ 22.1 ล้านราย[5]ทำให้เสียชีวิต 16,100 ราย[6]เป็นโรคที่สามัญยิ่งขึ้นในโลกตะวันตกตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970[8]โดยทั่วไป ชายจะเป็นมากกว่าหญิง[2]นิ่วไตเป็นโรคที่ปรากฏตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมีการกล่าวถึงการผ่าตัดเพื่อเอาออกเริ่มตั้งแต่ 600 ปีก่อน ค.ศ.[1]

โรคนิ่วไต

อาการ ปวดหลังหรือปวดท้องส่วนล่างอย่างรุนแรง เลือดออกในปัสสาวะ อาเจียน[2]
สาขาวิชา วิทยาทางเดินปัสสาวะ วักกวิทยา
สาเหตุ ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[2]
ความชุก 22.1 ล้าน (พ.ศ. 2558)[5]
วิธีวินิจฉัย อาศัยอาการ การตรวจปัสสาวะ และภาพฉายรังสี[2]
การรักษา ยาแก้ปวด, การใช้คลื่นเสียงนอกกายสลายนิ่ว (extracorporeal shock wave lithotripsy), การส่องกล้องท่อไต (ureteroscopy), การผ่าตัดนิ่วผ่านผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy)[2]
การเสียชีวิต 16,100 (พ.ศ. 2558)[6]
ชื่ออื่น Urolithiasis, kidney stone, renal calculus, nephrolith, kidney stone disease[1]
โรคอื่นที่คล้ายกัน หลอดเลือดแดงในช่องท้องโป่งพอง (Abdominal aortic aneurysm), ถุงยื่นในลำไส้ใหญ่อักเสบ (diverticulitis), ไส้ติ่งอักเสบ, กรวยไตอักเสบ[3]
การป้องกัน ทานของเหลวให้ถ่ายปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรทุก ๆ วัน[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคนิ่วไต http://www.kidney.org.au/ForPatients/Management/Ki... http://www.cmaj.ca/cgi/reprint/174/10/1407 http://www.bmj.com/content/334/7591/468.full.pdf http://emed.chris-barton.com/PDF/kidney%20stones%2... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11346.htm http://www.emedicine.com/med/topic1600.htm http://www.expertconsultbook.com/expertconsult/op/... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=592.... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=594.... http://content.karger.com/produktedb/produkte.asp?...