โรคพาร์คินสัน
โรคพาร์คินสัน

โรคพาร์คินสัน

โรคพาร์คินสันเป็นความผิดปรกติการเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง อาการของโรคพากินสันเกิดจากเซลล์ที่ผลิตโดปามีนในซับสแตนเชียไนกรา อันเป็นบริเวณหนึ่งในสมองส่วนกลาง ตาย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุของการตายของเซลล์นี้ ในช่วงที่เป็นโรคใหม่ ๆ อาการเด่นชัดที่สุดเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ซึ่งรวมการสั่น สภาพแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้าและเดินและท่าเดินลำบาก ต่อมา อาจเกิดปัญหาการคิดและพฤติกรรมได้ โดยภาวะสมองเสื่อมเกิดได้ทั่วไปในระยะท้ายของโรค ขณะที่ภาวะซึมเศร้าเป็นอาการจิตเวชที่พบบ่อยที่สุด อาการอื่นมีปัญหารับความรู้สึก การหลับและอารมณ์ โรคพาร์คินสันพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนมากเกิดอาการหลังอายุ 50 ปีอาการสั่งการหลักเรียกรวมว่า พาร์คินสันนิซึม (parkinsonism) หรือ กลุ่มอาการพาร์คินสัน (parkinsonian syndrome) โรคพาร์คินสันมักนิยามเป็นกลุ่มอาการพาร์คินสันที่เกิดเอง (ไม่มีสาเหตุที่ทราบ) แม้ผู้ป่วยนอกแบบบางคนมีสาเหตุจากพันธุกรรม มีการสืบสวนปัจจัยเสี่ยงและป้องกันหลายอย่าง หลักฐานชัดเจนที่สุด คือ ผู้ที่สัมผัสยาฆ่าแมลงบางชนิดจะมีความเสี่ยงต่อโรคพาร์คินสันมากขึ้น แต่ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงลดลง พยาธิสภาพของโรคเป็นลักษณะของการสะสมโปรตีนชื่อ แอลฟา-ไซนิวคลีอิน (alpha-synuclein) ในอินคลูชันบอดี (inclusion body) เรียก เลวีบอดี (Lewy body) ในเซลล์ประสาท และจากการสร้างและกัมมันตภาพของโดปามีนที่ผลิตในเซลล์ประสาทบางชนิดในหลายส่วนของสมองส่วนกลางไม่เพียงพอ เลวีบอดีเป็นเครื่องหมายพยาธิวิทยาของโรคนี้ และการกระจายของเลวีบอดีตลอดสมองของผู้ป่วยแตกต่างกันไปตามบุคคล การกระจายทางกายวิภาคศาสตร์ของเลวีบอดีมักสัมพันธ์โดยตรงกับการแสดงออกและระดับอาการทางคลินิกของแต่ละบุคคล การวินิจฉัยผู้ป่วยตรงแบบอาศัยอาการเป็นหลัก โดยใช้การทดสอบอย่างการสร้างภาพประสาท (neuroimaging) เพื่อยืนยัน

โรคพาร์คินสัน

อาการ สั่น, เกร็ง, เคลื่อนไหวช้า, เดินลำบาก[1]
สาขาวิชา ประสาทวิทยา
ความชุก 6.2 million (2015)[7]
สาเหตุ ไม่ทราบสาเหตุ[4]
วิธีวินิจฉัย วินิจฉัยจากอาการ[1]
ปัจจัยเสี่ยง Pesticide exposure, head injuries[4]
ภาวะแทรกซ้อน Dementia, depression, anxiety[2]
ยา L-DOPA, dopamine agonists[2]
การรักษา รักษาด้วยยาและการผ่าตัด[1]
การเสียชีวิต 117,400 (2015)[8]
ชื่ออื่น Parkinson disease, idiopathic or primary parkinsonism, hypokinetic rigid syndrome, paralysis agitans, shaking palsy
การตั้งต้น อายุเกิน 60 ปี[1][3]
โรคอื่นที่คล้ายกัน Dementia with Lewy bodies, progressive supranuclear palsy, essential tremor, antipsychotic use[5]
พยากรณ์โรค Life expectancy ~ 15 years[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคพาร์คินสัน http://www.diseasesdatabase.com/ddb9651.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic304.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic635.htm http://www.emedicine.com/pmr/topic99.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=332 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30381371 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1223/ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/dispomim.cgi?id... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2...