โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลซไฮเมอร์[10] หรือ โรคอัลไซเมอร์[11] (อังกฤษ: Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นโรคการเสื่อมของระบบประสาทเรื้อรังที่ปกติเริ่มต้นช้า ๆ และค่อย ๆ มีอาการหนักขึ้นตามเวลา[1][2] เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุดคือประมาณ 60–70% อาการเริ่มแรกที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ การจำเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ค่อยได้[1] เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น อาการอาจมีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา ความงุนงงสับสน (รวมทั้งหลงทางง่าย) อารมณ์แกว่ง เสียแรงจูงใจ ไม่ดูแลตนเองและมีปัญหาพฤติกรรม[1][2] เมื่ออาการของบุคคลเสื่อมลง ผู้ป่วยมักปลีกตัวออกจากครอบครัวและสังคม การทำงานของร่างกายจะค่อย ๆ เสื่อมลงจนนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด[12] แม้การลุกลามของโรคอาจมีความเร็วแตกต่างกันได้ แต่อายุคาดหมายการคงชีพตรงแบบหลังวินิจฉัยแล้วอยู่ที่ 3 ถึง 9 ปี[7][13]ยังไม่ค่อยเข้าใจสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ดีนัก[1] ความเสี่ยงประมาณ 70% เชื่อว่าได้รับมาจากบิดามารดาของผู้ป่วยโดยปกติเกี่ยวข้องกับหลายยีน[4] ปัจจัยเสี่ยงอื่นได้แก่ประวัติได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคซึมเศร้าและความดันโลหิตสูง[1] กระบวนการของโรคสัมพันธ์กับพลาก (plaque) และนิวโรไฟบริลลารีแทงเกิล (neurofibrillary tangle) ในสมอง[4] การวินิจฉัยที่เป็นไปได้อาศัยประวัติความเจ็บป่วยและการทดสอบการรู้ กับการถ่ายภาพทางการแพทย์และการตรวจเลือดเพื่อแยกสาเหตุที่เป็นไปได้อย่างอื่น[5] อาการเริ่มแรกมักเข้าใจผิดว่าเป็นการเปลี่ยนตามวัยปกติ[1] การวินิจฉัยแน่ชัดจำเป็นต้องตรวจเนื้อเยื่อสมอง[4] การออกกำลังกายและการฝึกสมอง ตลอดจนการเลี่ยงโรคอ้วนอาจลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ อย่างไรก็ดี หลักฐานสนับสนุนข้อแนะนำเหล่านี้ยังอ่อนอยู่[4][14] ไม่มียาหรืออาหารเสริมที่แสดงว่าลดความเสี่ยงของโรค[15]ไม่มีการรักษาใดหยุดหรือชะลอการลุกลามของโรค แม้การรักษาบางอย่างอาจลดอาการได้ชั่วคราว[2] ผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาขอความช่วยเหลือผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ และมักเป็นภาระแก่ผู้ดูแล[16] ความกดดันนี้อาจรวมถึงส่วนสังคม จิตวิทยา กายภาพและเศรษฐกิจ[16] โปรแกรมออกกำลังกายอาจเป็นประโยชน์เกี่ยวกับความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและอาจสามารถปรับปรุงผลลัพธ์ของโรคได้[17] ปัญหาพฤติกรรมหรือโรคจิตเนื่องจากภาวะสมองเสื่อมมักรักษาด้วยยารักษาโรคจิต แต่ปกติไม่แนะนำ เพราะมีประโยชน์น้อยและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัย[18][19]ในปี 2558 มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 29.8 ล้านคนทั่วโลก[2][8] มักเริ่มในผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แม้ผู้ป่วย 4–5% เป็นโรคอัลไซเมอร์เป็นเร็ว (early-onset Alzheimer's)[3] โรคนี้เกิดในผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปประมาณ 6% ในปี 2558 โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 1.9 ล้านครั้ง[9] จิตแพทย์และนักพยาธิวิทยาชาวเยอรมัน อาลัวส์ อัลซ์ไฮเมอร์ เป็นผู้ค้นพบโรคดังกล่าวในปี 2449 และโรคนี้ได้ชื่อตามเขา ในประเทศพัฒนาแล้ว โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่มีมูลค่าทางการเงินสูงสุดโรคหนึ่ง[20][21]

โรคอัลไซเมอร์

อาการ จำเหตุการณ์ปัจจุบันได้ยาก มีปัญหาด้านภาษา งุนงงสับสน อารมณ์แกว่ง[1][2]
สาขาวิชา ประสาทวิทยา
ระยะดำเนินโรค ระยะยาว[2]
สาเหตุ ยังเข้าใจไม่มากนัก[1]
ความชุก 29.8 ล้านคน (ปี 2558)[2][8]
วิธีวินิจฉัย ยึดอาการและการทดสอบการรู้หลังแยกสาเหตุอื่นที่เป็นไปได้[5]
ปัจจัยเสี่ยง พันธุกรรม ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง[1][4]
ยา สารยับยั้งอะเซทิลโคลีนเอสเตอเรส, สารต้านตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ (มีประโยชน์เล็กน้อย)[6]
การเสียชีวิต 1.9 ล้านคน (ปี 2558)[9]
การตั้งต้น 65 ปีขึ้นไป[3]
โรคอื่นที่คล้ายกัน การเปลี่ยนตามวัยปกติ[1]
พยากรณ์โรค อายุคาดหมายคงชีพ 3–9 ปี[7]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคอัลไซเมอร์ http://www.sbgg.org.br/profissional/artigos/pdf/de... http://www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext... http://www.abstractsonline.com/viewer/viewAbstract... http://adisonline.com/drugs/Abstract/2010/70050/In... http://works.bepress.com/cgi/viewcontent.cgi?artic... http://www.dfgdocs.com/Directory/Titles/700.aspx http://www.diagnosticimaging.com/news/display/arti... http://www.diseasesdatabase.com/ddb490.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic13.htm http://www.frx.com/pi/namenda_pi.pdf