ไข้ซิกา
ไข้ซิกา

ไข้ซิกา

ไข้ซิกา หรือโรคไวรัสซิกา เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสซิกา[1] ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยคล้ายกับไข้เดงกี[1][9] อาการมักคงอยู่ไม่เกินเจ็ดวัน[2] โดยอาการเหล่านี้เช่น ไข้ ตาแดง ปวดข้อ ปวดหัว ผื่นแดง เป็นต้น[1][3][2] ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้[9] ภาวะนี้สัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการกิลแลงบาร์เรอีกด้วย[9]ไข้ซิกาติดต่อผ่านทางการถูกยุง Aedes เช่น ยุงลาย กัด[2] เป็นส่วนใหญ่ และยังอาจติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์และการถ่ายเลือด[2]ได้ด้วย เชื้ออาจติดต่อผ่านทางมารดาไปยังทารกและทำให้ทารกมีศีรษะเล็กได้[1][9] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจหา RNA ของไวรัสในเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลายจากผู้ป่วย[1][2]การป้องกันทำได้โดยการลดโอกาสการถูกยุงกัดในพื้นที่ที่มีการระบาด[2] ทำได้โดยการใช้สารไล่แมลง การปกคลุมร่างกาย การใช้มุ้ง และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเช่นในน้ำนิ่ง[1] ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ได้ผลดี[2] บุคลากรทางสาธารณสุขเริ่มให้คำแนะนำแก่คู่สามีภรรยาในพื้นที่ระบาดว่าให้ชะลอการมีบุตรออกไปก่อน และแนะนำให้สตรีมีครรภ์งดการเดินทางไปยังพื้นที่ระบาด[2][10] การรักษาทำได้ด้วยวิธีรักษาประคับประคอง ยังไม่มีการรักษาจำเพาะที่มีประโยชน์ ส่วนใหญ่ใช้ยาแก้ปวดลดไข้เข่นพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ[2] ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล[9]ไวรัสนี้ถูกแยกได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1947[11] การระบาดในมนุษย์มีบันทึกไว้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2007 ในสหพันธรัฐไมโครนีเซีย[2] จนถึงมกราคม ค.ศ. 2016 มีการพบโรคนี้ในกว่า 20 พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา[2] นอกจากนี้ยังพบได้ในแอฟริกา เอเชีย และในเขตแปซิฟิก[1] องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคนี้เป็นหัวข้อฉุกเฉินนานาชาติทางสุขภาพเมื่อกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 หลังจากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทสบราซิลเมื่อ ค.ศ. 2015[12]

ไข้ซิกา

อาการ ไข้, ตาแดง, ปวดข้อ, ปวดศีรษะ, ผื่น[1][2][3]
สาขาวิชา โรคติดเชื้อ
ระยะดำเนินโรค น้อยกว่า 1 สัปดาห์[2]
การออกเสียง
สาเหตุ เชื้อไวรัสซิกา ส่วนใหญ่ติดผ่านพาหะคือยุง[2]
วิธีวินิจฉัย การตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลายเพื่อหาอาร์เอ็นเอของไวรัส หรือตรวจหาแอนติบอดีในเลือด[1][2]
ภาวะแทรกซ้อน ภาวะหัวเล็กเกินในทารก (หากมารดาติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์, กลุ่มอาการกิลแลงบาร์เร[4][5][6]
การรักษา การรักษาประคับประคอง[2]
การเสียชีวิต การติดเชื้อเฉียบพลันไม่ทำให้เสียชีวิต[4]
ชื่ออื่น โรคไวรัสซิกา, ซิกา, การติดเชื้อไวรัสซิกา
โรคอื่นที่คล้ายกัน ชิคุนกุนยา, มาลาเรีย, ไข้เลือดออกเดงกี, โรคฉี่หนู, โรคหัด[7]
การป้องกัน การป้องกันไม่ให้ยุงกัด, ถุงยางอนามัย[2][8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไข้ซิกา http://agenciabrasil.ebc.com.br/en/geral/noticia/2... http://noticias.uol.com.br/saude/ultimas-noticias/... http://portalsaude.saude.gov.br/index.php/cidadao/... http://www.bbc.com/portuguese/noticias/2015/11/151... http://www.cnn.com/2015/12/23/health/brazil-zika-p... http://www.diseasesdatabase.com/ddb36480.htm http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S11987... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=066.... http://www.reuters.com/article/brazil-health-zica-... http://www.thelancet.com/journals/lancet/article/P...