ไรชส์แวร์
ไรชส์แวร์

ไรชส์แวร์

ไรชส์แวร์ (เยอรมัน: Reichswehr) หรือ กองป้องกันไรช์ เป็นชื่อเรียกกองกำลังป้องกันตนเองของเยอรมนีระหว่าง ค.ศ. 1919 ถึง 1935 ไรชส์แวร์เป็นกองทัพเยอรมันที่ถูกลดขนาดลงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปีค.ศ. 1919 ประกอบด้วยสองเหล่าทัพได้แก่ ไรชส์แฮร์ (กองกำลังทางบก) ซึ่งถูกจำกัดกำลังพลที่ไม่เกิน 100,000 นาย และ ไรชส์มารีเนอ (กองกำลังทางทะเล) ซึ่งถูกจำกัดกำลังพลที่ไม่เกิน 15,000 นาย สนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งร่างขึ้นโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ห้ามไรชส์แวร์แต่งตั้งนายทหารยศนายพล, ห้ามมีปืนใหญ่ขนาดเกินกว่า 105 มม, ห้ามมีรถหุ้มเกราะ, ห้ามมีเรือดำน้ำ, ห้ามมีเรือรบขนาดใหญ่ ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ ไรชส์แวร์จึงเปรียบเสมือนกองกำลังป้องกันตนเองที่ไม่สามารถรุกรานใครได้ ทำได้เพียงรักษาความสงบในประเทศและตามแนวชายแดนเท่านั้น ต่อมาเมื่อนาซีเรืองอำนาจและฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายทิ้ง ฮิตเลอร์ได้มีการยกระดับไรชส์แวร์ขึ้นเป็นกองทัพแบบเต็มรูปแบบที่เรียกว่า แวร์มัคท์ ในปี 1935

ไรชส์แวร์

ประเทศ  เยอรมนี (1919–1933)
 ไรช์เยอรมัน (1933–1935)
สัญลักษณ์ กางเขนเหล็ก
จอมทัพ ฟรีดริช เอเบิร์ท
เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
ผบ.สำคัญ ฮันส์ ฟ็อน เซคท์
แวร์เนอร์ ฟ็อน ฟริทช์
กองบัญชาการ ซ็อสเซิน (ชานกรุงเบอร์ลิน)
บทบาท กองกำลังป้องกันตนเอง
ปฏิบัติการสำคัญ การปฏิวัติเยอรมัน
ปราบกบฏโรงเบียร์
การลุกฮือเรอห์
กบฏคัพพ์ (จำกัดความช่วยเหลือ)
สีหน่วย ดำ-แดง-ทอง
กำลังรบ 115,000 (1,921)