ไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบ (อังกฤษ: appendicitis) คือภาวะที่มีการอักเสบของไส้ติ่ง[2] ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้องบริเวณด้านขวาล่าง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร[2] แต่ก็มีผู้ป่วยราว 40% ที่ไม่มีอาการตามแบบฉบับดังกล่าว[2] ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงคือการแตกของไส้ติ่งที่อักเสบ ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง และติดเชื้อในกระแสเลือดได้[3]สาเหตุของไส้ติ่งอักเสบคือการอุดตันส่วนกลวงภายในไส้ติ่ง[10] ส่วนใหญ่เกิดจากอุจจาระที่มีแคลเซียมจับเป็นก้อนแข็ง[6] สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดการอุดตันเช่น เนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่บวมขึ้นจากการติดเชื้อไวรัส นิ่วถุงน้ำดี ปรสิต หรือเนื้องอก[6] การอุดตันนี้จะเพิ่มแรงดันภายในของไส้ติ่ง ทำให้มีเลือดไหลเวียนมายังเนื้อเยื่อไส้ติ่งน้อยลง แบคทีเรียที่มีอยู่แล้วจึงเพิ่มจำนวนทำให้เกิดการอักเสบ[6][11] จากผลของการอักเสบ การขาดเลือด และการบวมตึงเหล่านี้ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ และทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายตามมา[12] หากไม่ได้รับการรักษา ไส้ติ่งที่อักเสบอาจแตกได้ ทำให้แบคทีเรียผ่านออกมาสู่ช่องท้อง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาอีก[12][13]การวินิจฉัยส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย[11] หากอาการไม่ชัดเจนอาจจำเป็นต้องติดตามอาการ ใช้ภาพถ่ายรังสี หรือใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการมาช่วยในการวินิจฉัย[4] วิธีถ่ายภาพทางการแพทย์ที่นิยมใช้ในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบคือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงและการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (ซีทีสแกน)[4] โดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ให้ความแม่นยำสูงกว่า[14] อย่างไรก็ดี การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงนิยมใช้เป็นการตรวจภาพทางการแพทย์วิธีแรกในเด็กเล็กและหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงของการรับรังสีเหมือนในการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์[4]วิธีการรักษาโดยมาตรฐานคือการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก[6][11] อาจทำโดยการผ่าเปิดช่องท้องหรือการผ่าตัดส่องกล้องก็ได้ การรักษาด้วยการผ่าตัดจะสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตที่สัมพันธ์กับการเกิดไส้ติ่งแตกลงได้[3] การให้ยาปฏิชีวนะโดยไม่ต้องผ่าตัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาไส้ติ่งอักเสบที่ยังไม่แตกซึ่งให้ผลเทียบเท่ากับการผ่าตัดได้ในบางกรณี[7] โรคนี้เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดท้องเฉียบพลันที่พบบ่อยและสำคัญมากที่สุดโรคหนึ่ง ข้อมูลปี ค.ศ. 2015 พบว่ามีผู้ป่วยไส้ติ่งราว 11.6 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 50,100 คน[8][9] ในสหรัฐพบว่าไส้ติ่งอักเสบเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดท้องเฉียบพลันที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด[2] แต่ละปีจะมีชาวสหรัฐประมาณ 300,000 คนป่วยจากไส้ติ่งอักเสบและต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก[15] Reginald Fitz เป็นแพทย์คนแรกที่ได้บรรยายถึงโรคนี้เอาไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1886[16]

ไส้ติ่งอักเสบ

อาการ ปวดท้องด้านขวาล่าง, อาเจียน, เบื่ออาหาร[2]
สาขาวิชา ศัลยกรรมทั่วไป
ความชุก 11.6 ล้านคน (2015)[8]
วิธีวินิจฉัย วินิจฉัยจากอาการ, การถ่ายภาพทางการแพทย์, การตรวจเลือด[4]
ภาวะแทรกซ้อน เยื่อบุช่องท้องอักเสบ, ติดเชื้อในกระแสเลือด[3]
การรักษา การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก, ยาปฏิชีวนะ[6][7]
การเสียชีวิต 50,100 (2015)[9]
ชื่ออื่น Epityphlitis[1]
โรคอื่นที่คล้ายกัน ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องอักเสบ, ถุงน้ำดีอักเสบ, ฝีในกล้ามเนื้อโซแอส, ท่อเลือดแดงส่วนท้องโป่งพอง[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไส้ติ่งอักเสบ http://www.mja.com.au/public/issues/175_01_020701/... http://www.appendicitisreview.com http://www.diseasesdatabase.com/ddb885.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic41.htm http://www.emedicine.com/med/topic3430.htm http://www.emedicine.com/ped/topic127.htm http://www.emedicine.com/ped/topic2925.htm http://findarticles.com/p/articles/mi_m0689/is_n6_... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=540 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=543